07 มิถุนายน 2555

จงรู้จักตัวเอง


จงรู้จักตัวเอง  เขียนโดย พระสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์

สิ่งท้าทายสำคัญประการหนึ่งในชีวิต  หากเราต้องการเป็นคนดีจริง  จำเป็นต้องรู้จักตัวเอง  เพราะบ่อยครั้ง  เราสนใจแค่รูปร่าง  บุคลิก  และประสบการณ์ฝ่ายโลกมากกว่าสนใจตัวตนด้านจิตใจ  การเอาใจใส่ชีวิตจริงๆ  เราต้องให้เวลากับตัวเอง  อยู่คนเดียวบ้างเพื่อดูแลชีวิตจิต  ต้องรู้ตัวว่าเรามีชีวิตจิตด้วย
ลักษณะตรีเอกภาพของมนุษยชาติ
เอ็ดการ์ด เคสซ์ เชื่อว่าวัตถุมีลักษณะตรีเอกภาพ กล่าวคือ จิตวิญญาณคือชีวิต  ความคิด  (mind) เป็นผู้สร้าง และร่างกายเป็นผลจิตวิญญาณทำให้เกิด แรงกระตุ้นและพลังสร้างสรรค์ในชีวิตความคิด  ช่วยรวมพลังให้แสดงออกทางสร้างสรรค์ก็ได้  หรือ  ทำลายก็ได้ อำนาจของเจตนาอิสระ แสดงผลออกมาในชีวิตของเรา
จิตพลังสร้างสรรค์  และพระเป็นเจ้า มีความสามารถเสริมศักยภาพแก่ชีวิตแต่อำนาจของความคิดอิสระ เป็นผู้กำหนดพลังจิตในชีวิต และปรากฏผลทางร่างกาย มีผลกระทบต่อเราเอง  และกระทบความสัมพันธ์กับคนอื่นด้วย  วิธีที่เรามุ่งเน้น  ความรู้สึกนึกคิดเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะทำให้เรามีมิตรภาพยิ่งใหญ่ก็ได้  หรือเป็นปฏิปักษ์ก็ได้  นักบุญเปาโลจึงกล่าวว่า  “จงมีความรู้สึกนึกคิด  เช่นเดียวกับที่พระคริสตเยซูทรงมีเถิด”  (ฟิลิปปี 2:5)  เราเป็นเงาแห่งพลังสร้างสรรค์  เรามีส่วนเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์โลกกับพระเจ้า
ฐานะผู้ร่วมสร้างสรรค์
เราต้องตระหนักว่า  เรามิได้ประกอบด้วยร่างกายและวิญญาณ แต่เราเป็นวิญญาณมากกว่า เราเป็นบุตรของพระผู้สร้าง ผู้ทรงกำลังเผยแสดงโลกฝ่ายวัตถุ ในมิติหนึ่ง ร่างกายเป็นเหมือนบ้านของจิตวิญญาณที่กำลังท่องในวัตถุ ร่างกายอนุญาตให้จิตสัมผัสมิติที่จำกัด  และมีพลังน้ำใจอิสระ  ในการเลือก  ในการตัดสิน  และเป็นเหตุและผล
ในฐานะผู้ร่วมสร้างสรรค์ เราต้องจริงจังกับบทบาทในการร่วมสร้างชุมชนรอบตัวเรา  แต่ละคนต้องรับผิดชอบ  มิฉะนั้นเราจะเป็นผู้สร้างปัญหาสังคม  และความยากลำบากให้ตนเอง
เราต้องการสังคมแบบใด  วันนี้เราสามารถเริ่มตอบรับบทบาทชีวิต  ในฐานะผู้ร่วมสร้างสรรค์สังคม  เพราะเรามีส่วนรับผิดชอบต่ออนาคต  และสังคมของเรา
การรู้จักตัวเองโดยอาศัยผู้อื่น
การรู้จักรักเมื่อเห็นใบหน้าของเด็ก  การอยู่กับเพื่อนด้วยความอดทน  การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  ช่วยให้เราตระหนักรู้ข้อบกพร่อง  ความผิดพลาด  ความสามารถ  และพรสวรรค์ของเรา  อาศัยการพบปะกับผู้อื่นช่วยให้รู้ว่าเราจำเป็นต้องทำอะไร  กับใคร  อาศัยผู้อื่นเราจึงเติบโตในสัมพันธภาพกับพระเจ้า  และรู้จักเราเอง
แต่ละคนรอบตัวเรา  เปรียบเสมือนกระจกเงา  บางคนอาจกำลังทำให้เราเครียด  เพราะเรากำลังมองเขา  ดูถูก(ดูผิด) ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวด้วย  ตรงกันข้าม  บางคนที่เราชื่นชอบ  ก็ช่วยเราให้เข้าใจคุณลักษณะที่มีประโยชน์ภายในตนเอง
จงระลึกว่า  “แม้ศัตรูที่แย่สุดของฉัน  ก็มีเพื่อนที่ดีสุดคนหนึ่ง  และแม้เพื่อนที่ดีสุดของฉัน ก็มีบางคนที่ไม่ชอบเขา”  ทำไมหรือ  คำตอบคือ  ความสนใจการรับรู้ของตนเอง
เราต่างยึดเหตุผล บางครั้งเราใส่อารมณ์กับคนอื่น  แต่หากเราต้องการพัฒนาชีวิตจิต  เราต้องมองผู้คนรอบตัวที่ทำให้เราเวียนหัวบ้าง  สนใจคนที่เราชื่นชอบจริงๆบ้าง  หากทำเช่นนี้ได้  เราจึงเริ่มเห็นจุดเด่นและจุดด้อยของตนผ่านทางผู้อื่น  การตระหนักรู้พลังนี้  ช่วยเราให้มีทัศนคติกับทุกคน  แตกต่างไปจากเดิม
กฎข้อแรกคือ  ท่านหว่านอะไร  ก็ได้ผลเช่นนั้น  ดังนั้น  ท่านต้องรักและจริงใจมากยิ่งขึ้นกับคนอื่น  ท่านจะมีมิตรภาพกับคนอื่น  เมื่อได้พบหนทางแล้ว  ท่านจงปฏิบัติต่อพี่น้องของท่าน
“บทบัญญัติที่ข้าพเจ้าสั่งท่านในวันนี้  ไม่ยากเกินไป  หรืออยู่สุดเอื้อมของท่าน  ไม่ได้อยู่สูงบนฟ้าจนต้องถามว่า  “ใครจะขึ้นไปเอาลงมาให้เราฟัง  และปฏิบัติตามได้เล่า”  บทบัญญัติเหล่านี้ไม่ได้อยู่โพ้นทะเล  จนต้องถามว่า  “ใครจะข้ามทะเลไปเอามาให้เราฟัง  และปฏิบัติตามได้เล่า”  พระวาจานี้อยู่ใกล้กับท่านมาก  คืออยู่ในปาก  และในใจของท่าน  เพื่อท่านจะนำไปปฏิบัติได้” (เฉลยธรรมบัญญัติ  30:11-14)

ผู้กลับใจ