10 เมษายน 2555

นักบุญ สตานิสเลาส์


นักบุญ สตานิสเลาส์
พระสังฆราช และมรณสักขี (1030-1079) 
ระลึกถึงวันที่ 11 เมษายน
ในทุกยุคทุกสมัยพระศาสนจักรได้รับการเรียกร้องให้ประกาศ พระวรสารตามความเป็นจริงโดยไม่มีการผ่อนปรนใดๆ ทั้งสิ้น
นักบุญ สตานิสเลาส์ อัครสังฆราชของเมืองคราโคเวีย บุรุษเหล็กชาวโปแลนด์ได้ทำเช่นที่ว่านี้ ซึ่งชวนให้เราย้อนระลึกถึงเหตุการณ์อีกอย่างหนึ่ง คือ เหตุการณ์ของนักบุญ ยอห์น แบปติสต์

นักบุญ สตานิสเลาส์ เกิดที่เมืองเซเซปานอฟสกี้ ใกล้เมืองคาโด ในประเทศโปแลนด์ แต่ได้รับการศึกษาที่กรุงปารีส  ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นพระสังฆราช  ท่านได้พยายามจัดสังฆมณฑลของท่าน และมีอยู่ 2 สิ่งในสังฆมณฑลของท่าน ที่ท่านรักมากเป็นพิเศษคือ คนจน และบรรดาพระสงฆ์ของท่าน ซึ่งท่านต้องไปเยี่ยมเขาให้ได้ทุกๆปี ท่านไม่ได้ลังเลใจที่จะคว่ำบาตรกษัตริย์ โบเลสเลาที่ 2 กษัตริย์ของประเทศโปแลนด์ในขณะนั้น ที่ประพฤติตนชั่วช้าสามานย์และเป็นที่สะดุด กษัตริย์ได้กล่าวหาท่านว่าเป็นคนทรยศขายชาติ และในวันที่ 11 เมษายน ปี 1079 กษัตริย์ได้ทรงปลิดชีวิตของท่านขณะที่ท่านกำลังถวายบูชามิสซาอยู่
ในปี 1253  ที่เมืองอัสซีซี พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 4 ได้สถาปนาท่านเข้าไว้ในหมู่นักบุญมรณสักขี
ท่านเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศโปแลนด์ ขอให้เราได้สวดให้ประเทศโปแลนด์ ซึ่งไม่เคยขาดผู้ที่เป็นพยานสำหรับความเชื่อคริสตชนเลย และทุกยุคทุกสมัยพระเจ้าได้ทรงโปรดประทานให้พระศาสนจักรได้มี “นายชุมพาบาล” ที่ไม่ยอมถอยหลังใหักับ “หมาป่า”  แต่ได้ยอมเสียสละชีวิตเพื่อ “ฝูงแกะ” ของตนตามแบบอย่างของพระคริสตเจ้า
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ1. ขอให้บรรดานายชุมพาบาลได้นำและป้องกันประชาชนของพระเจ้าด้วยความกล้าหาญ
2. ขอให้ทุกคนที่มีความเชื่อในพระคริสตเจ้าได้เจริญชีวิตความเชื่อของตนอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ขอให้คริสตชนได้รู้จักป้องกันสิทธิของตนต่อสู้กับกฎหมายอันอยุติธรรม
4. แม้ในปัจจุบันนี้ก็ขอให้เราได้รู้จักที่จะตายเพื่อพระคริสตเจ้าดีกว่าที่จะทรยศพระองค

ข้อมูลจากเวปไซด์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ

ไม้กางเขน






                        
           
          เรื่องของไม้กางเขน สามารถพบได้ทั้งในวัฒนธรรมคริสต์และไม่ใช่วัฒนธรรมคริสต์ ซึ่งให้ความหมายเชิงจักรวาลหรือเชิงธรรมชาติเสียส่วนใหญ่ เส้ นตรง 2 เส้นที่ยาวเท่ากัน ตัดกัน เป็นรูปกางเขน หมายถึง 4 มิติของจักรวาลและกางเขนสวัสดิกะของพรรคนาซีเป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ที่หมุนเป็น จักรเพลิง และหมายถึงแหล่งกำเนิดของแสงสว่างและอำนาจของธาตุต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจของสายฟ้าฟาด หรือในบางวัฒนธรรม หมายถึงอำน าจของการให้กำเนิด ความหมายเชิงธรรมชาติเหล่านี้ของไม้กางเขน มิได้ถูกลบล้างไปเมื่อนำไปใช้ในทางศาสนา แต่ได้รับการทำให้ความหมายดังกล่าวลึ กซึ้งยิ่งขึ้น และได้รับการชำระให้บริสุทธิ์มากขึ้นโดยอาศัยการพัฒนาสัญลักษณ์นิยมของคริสตศาสนา แต่ว่าในวัฒนธรรมที่มิใช่คริสตศาสนา สัญลักษณ์แ ห่งไม้กางเขนได้กลายเป็นวิธีการที่ใช้ลงโทษคริสตชนในยุคแรกๆ โดยปรกติแล้ว มักจะหลีกเลี่ยงการนำเสนอพระวรกายของพระคริสตเจ้าบนไม้กางเขน ซึ่งมีพยานหลักฐานให้เห็นในศตวรรษที่ ๕ และอันที่จริงตั้งแต่แรกจนถึงศตวรรษที่ ๔ แม้กระทั่งรูปไม้กางเขนธรรมดา ก็แทบจะไม่สู้ได้ปรากฎออกมาสู่สายตาของสาธารณชนด้วยซ้ำไป ซึ่งก็มีเหตุผลต่างๆ ดังนี้
          ทั้งคนต่างศาสนาและชนชาวยิว ต่างก็มองเห็นว่าเป็นอะไรที่ขัดแย้งกันอย่างที่สุดที่บรรดาคริสตชนเชื่อว่า ชายคนหนึ่งที่ถูกตรึงกางเขนเป็นพระเจ้า แม้กระทั่งในหมู่พวกคริสตชนเองก็ยังถือว่าการถูกตรึงกางเขนเป็นสิ่งที่น่าอับอาย และหลายๆคนก็ยังมีความลังเลที่จะยอมรับความเป็นจริงที่ว่าพระคริสตเจ้ าได้สิ้นพระชนม์จริงๆ สภาพระสังคายนาแห่งเมืองเอเฟซัส(๔๓๑) และสภาพระสังคายนาแห่งเมืองคัลเซดอน(๔๕๑) เป็นช่วงเวลาที่ตรึึงเครียดที่สุด สำหรับการถกเถียงกันในเรื่องของพระคริสตเจ้า(Christology) เพราะมีคริสตชนบางกลุ่มที่แลเห็นการ ถูกตรึงกางเขน  เป็นการตรึงกางเขนพระเจ้า พวกเขารับไม่ได้ที่จะเห็นพระวรกายของพระผู้ถูกตรึงกางเขน และดังนี้พวกเขาจึ งอยากนำเสนอไม้กางเขนที่ว่างเปล่ามากกว่า  ยิ่งกว่านั้นในยุคสมัยที่มีการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ เพราะกลัวผู้มีอำนาจของบ้านเมืองจะรู้ว่าพวกที่นับถือไม้กางเขนเป็นคริสตชน และอีกประการหนึ่งเพราะกลัวคนต่างศาสนาจะเอาไม้กางเขนไปทำทุรจ าร
           นอกจากนั้น  ยังมีพยานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าคริสตชนจำนวนไม่น้อยที่ไม่อยากพิศเพ่งดูความ น่าอับอายบนกางเขนของพระเจ้าของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ในภาพลักษณ์ที่เปลือยเปล่า พวกเขาชอบมากกว่าที่จ ะเห็นไม้กางเขนว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ ของพระองค์เป็นท่อธารแห่งชีวิต ทั้งอยากให้ไม้กางเขนเป็นวิธีการที่พระองค์ผ่านไปสู่พระเกียรติมงคลของพระเจ้าอันเป็นของพระองค์มาก่อน
          ใน ๓ ศตวรรษแรก บรรดาคริสตชนได้ใช้ไม้กางเขนเป็นความศรัทธาภักดีส่วนตัว อย่างไรก็ตามในศตวรรษที่ ๔ เกิดมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา  คือเป็ นช่วงระยะเวลาที่เกิดสันติภาพในพระศาสนจักร จึงไม่มีความจำเป็นแต่ประการใดที่จะต้องปิดบังซ่อนเร้นไม้กางเขนอีกต่อไป จักรพรรดิคอนสแตนติน ได้ท รงประกาศว่าพระองค์ได้แลเห็นไม้กางเขนบนท้องฟ้า และพระองค์ได้ทรงสั่งให้สลักรูปไม้กางเขนนี้บนโล่ห์ของทหารของพระองค์ทุกคน แล้วพระองค์ได้ ทรงยกเลิกการถูกตรึงกางเขนว่าเป็นโทษประหารชีวิต และต่อมาไม้กางเขนก็ได้ปรากฎขึ้นทุกหนทุกแห่งตามที่ต่างๆในอาณาจักรของพระองค์  แต่ว่าเหตุ การณ์ที่มีผลกระทบอย่างลึกซึ้งมากที่สุด ก็คือ  การค้นพบไม้กางเขนที่ใช้ตรึงพระเยซูเจ้าที่กรุงเยรูซาแลม  เมื่อปี ๓๒๖ และได้รับการเคารพสักการะอย่า งพระธาตุที่มีคุณค่ามากที่สุด ที่ยังคงหลงเหลือมาจากชีวิตบนแผ่นดินนี้ของพระองค์ ไม้กางเขนนี้ได้ถูก แบ่งออกมาเป็นหลายๆ ส่วนด้วยกัน แต่ว่าชิ้นให ญ่ๆ ของไม้กางเขนที่ถูกแบ่งออกมานี้ได้ถูกนำไปยังกรุงโรมก่อน และต่อไปยังกรุงคอนสแตนติน โนเปิล ในเวลาต่อมา  ไม้กางเขนนี้ก็ได้ถูกซอยออกมาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยอีกมากมายและถูกแจกจ่ายไปตามที่ต่างๆ
          ศตวรรษที่ ๕ และ ๖ เป็นช่วงเวลาที่มีความหมายที่ไม้กางเขนได้รับเกียรติสูงสุด คือได้ทำด้วยทองคำและได้รับการประดับด้วยเพชรนิล   จินดาเม็ ดโตๆ ซึ่งก็คงไม่มีจุดประสงค์อื่นใด  นอกจากเป็นนำเสนอให้เห็นถึงพระเกียรติมงคลแห่งไม้กางเขนนั่นเอง
          นอกจากแนวความคิดแห่งเกียรติมงคลของไม้กางเขนแล้ว  ยังมีการผนวกชัยชนะและชีวิตเข้าไปในเนื้อหาของไม้กางเขนอีกด้วย ซึ่งเรา  สามาร ถแลเห็นได้จากรูปภาพของลูกแกะของพระเจ้าที่แบกไม้กางเขนอันเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของพระคริสตเจ้า และรูปภาพของต้นไม้แห่งชีวิตซึ่งต้องกา รให้เห็นถึงความตรงข้ามกับต้นไม้แห่งความตาย หรือระหว่างต้นไม้แห่งความดีและต้นไม้แห่งความชั่วในสวนสวรรค
          
           
           ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์ที่บรรดาชาวคริสต์ใช้กันมากที่สุด ได้มีการวางไม้กางเขนไว้บนพระแท่นบูชาระหว่างพิธีมิสซาบูชาข อบพระคุณตั้งแต่ศตวรรษที่ ๕ ในประเทศซีเรีย แต่สำหรับภาคพื้นตะวันตก ธรรมเนียมนี้ได้มีขึ้นภายหลังนั้นมาก คือประมาณศตวรรษที่ ๑๓ในสมณสมัยขอ งพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ ๓ ส่วนการใช้ไม้)การเขนในพิธีแห่ ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ ๖ เมื่อ Venantius Fortunatus ได้แต่งเพลง “Vexilla Regis Prodeunt” และในปี ๘๐๐ จักรพรรดิชาร์ลเลอมาญได้มอบไม้กางเขนสำหรับใช้แห่แด่พระสันตะปาปา เพื่อใช้ในพิธีแห่ที่กรุงโรม คื่อเมื่อขบวนแห่มาถึงที่วัดเพื่อเริ่มพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ก็ปักไม้กางเขนไว้ที่ข้างๆพระแท่นบูชา
          ในระหว่างสมัยกลางจนถึงศตวรรษที่ ๑๖ ได้มีการแบ่งส่วนของพระแท่นบูชากับส่วนที่เป็นที่นั่งของสัตบุรุษ โดยใช้โต๊ะศักดิ์สิทธิ์ที่สัตบุรุษเดินเข้า มาคุกเข่ารับศีล  และบางทีก็ใช้แขวนไม้กางเขนขนาดใหญ่ตรงที่แบ่งส่วนทั้งสอง เพื่อมิให้ปะปนกับไม้กางเขนบนพระแท่นบูชา
          ในสมัยกลาง ได้มีการแขวนไม้กางเขนบนกำแพงของอาคารใหญ่ๆ  นอกเหนือไปจากที่วัดแล้ว ต่อมาก็ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน  ได้มีการตั้งไม้กา งเขนในสุสานด้วย รวมทั้งมีการปักรูปไม้กางเขนบนผ้าประเภทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนผ้าศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
             
การทำสำคัญมหากางเขนหรือเดชะพระนามบนหน้าผากด้วยนิ้วโป้งหรือนิ้วชี้นั้น ได้มีธรรมเนียมปฏิบัติตั้งแต่ศตวรรษที่ ๒ แล้ว แต่ว่าเป็นความศรัทธาส่วนตัว ในศตวรรษที่ ๔ ได้มีการใช้สำคัญมหาเขนกันแพร่หลายมากขึ้นในพิธีกรรม และในปลายศตวรรษที่ ๔ นี่เอง ได้มีการทำสำคัญมหากางเขนที่หน้าอก และทำที่ริมฝีปากในศตวรรษที่ ๘
           ในพระศาสนจักรตะวันออก ธรรมเนียมปฏิบัติในการทำสำคัญมหากางเขนด้วยสองหรือสามนิ้วนั้น เพื่อเป็นการย้ำถึงสองพระธรรมชาติของพระคริส ตเจ้า หรือหมายถึงพระธรรมชาติของพระตรีเอกภาพ และธรรมเนียมปฏิบัตินี้ได้เริ่มแพร่หลายเข้าไปในพระศาสนจักรตะวันตก ในศตวรรษที่ ๙ ทางสันตะสำ นักได้มีคำสั่งให้พระสงฆ์ทำสำคัญมหากางเขนด้วยนิ้วโป้งและอีกสองนิ้วเหนือเครื่องบูชาในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ อากัปกิริยาเช่นนี้ ยังคงปฏิบัติกันอยู่ใ นพิธีกรรมของพระศาสนจักรตะวันออกจนถึงทุกวันนี้ และในจารีตของสันตะสำนักในพิธีเสกหรืออวยพรต่างๆ
           ส่วนการทำสำคัญมหากางเขนที่หน้าผาก หน้าอก และที่บ่านั้น แม้ว่าได้ทำกันเป็นแบบความศรัทธา    ส่วนตัวตั้งแต่ศตวรรษที่ ๕ แล้วก็ตาม ดูเห มือนว่าจะถูกนำเข้ามาให้ปฏิบัติเป็นส่วนรวมเป็นครั้งแรก    ในอารามก็ในศตวรรษที่ ๑๐ และในศตวรรษที่ ๑๓ พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ ๓ได้มีคำสั่งให้ ทำสำคัญมหากางเขนด้วยนิ้ว ๓ นิ้ว จากหน้าผากลงมาที่หน้าอก และจากบ่าขวาไปยังบ่าซ้าย แต่ว่าต่อมาก็ให้ใช้มือที่แบออก ทำสำคัญกางเขน และให้เปลี่ยนจากบ่าซ้ายไปบ่าขวา
           โดยปรกติแล้ว การทำสำคัญมหากางเขนจะต้องทำควบคู่ไปกับบทภาวนา ซึ่งได้ใช้กันตั้งแต่สมัยโบราณ คือ “เดชะพระนามพระบิดา และพระบุตร และพระจิต” ส่วนในจารีตตะวันออก เวลาที่ทำสำคัญมหากางเขน ก็ให้ภาวนาว่า “โอ้พระเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ โอ้พระเจ้าผู้เข้มแข็ง โอ้พระเจ้าผู้  ไม่รู้ตาย ขอทรงพระกรุณาข้าพเจ้าทั้งหลายเทอญ”
           เราทำสำคัญมหากางเขนในหลายวิธีด้วยกันขณะประกอบพิธีกรรม ซึ่งก็ให้ความหมายที่    แตกต่างกันออกไป บางครั้งการทำสำคัญมหากางเขน เป็นสัญลักษณ์ของพระคริสต์ที่ถูกจารึกลงไป เสมือนหนึ่งเป็นการประทับตราลงบนร่างกายของผู้เตรียมตัวรับศีลล้างบาป(คริสตังค์สำรอง) อันเป็นการให้ควา มหมายว่าเขาผู้ที่ได้รับการทำสำคัญมหากางเขนนั้น เป็นของพระคริสต์ทั้งหมด หรือว่าเป็นการแสดงออกซึ่งความเชื่ออันไม่หวั่นไหวในองค์พระคริสต์ หรือว่ าเป็นการยืนยันถึงพระฤทธานุภาพสูงสุดของพระคริสตเจ้าต่อสู้กับจิตชั่ว การทำสำคัญมหากางเขนสามารถเป็นการวิงวอนขอพระหรรษทานจากพระเจ้า เป็น การวิงวอนขอบุญกุศลที่มีไม่รู้จบสิ้นแห่งไม้กางเขนของพระคริสตเจ้า และการทำสำคัญมหากางเขนสามารถใช้เป็นการอวยพรบุคคลหรือสิ่งของก็ได้
                        

          เป็นเรื่องปกติธรรมดาและมีเหตุผลที่อุปกรณ์ของการช่วยให้รอดพ้น จะต้องกลายเป็นคารวะกิจอย่างพิเศษสุด ดังนั้นความศรัทธาภักดีต่อไม้กางเขนไ ด้เริ่มขึ้นหลังจากที่พระเยซูเจ้าได้ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ดังที่เราสามารถมีหลักฐานจากจดหมายของนักบุญเปาโล
          ใน ๑คร ๑:๑๗...พระคริสตเจ้ามิได้ทรงส่งข้าพเจ้ามาทำพิธีล้างบาป แต่ทรงส่งมาประกาศข่าวดี มิใช่ด้วยการใช้โวหารอันชาญฉลาด ด้วยเกรงว่าจะท ำให้ไม้กางเขนของพระคริสตเจ้าเสื่อมประสิทธภาพ…
          ใน อฟ ๒:๑๖...โดยทางไม้กางเขน พระเยซูเจ้าทรงทำให้ทั้งสองฝ่ายกลับคืนดีกับพระเจ้า รวมเป็นกายเดียว และทรงขจัดการเป็นศัตรูกันเดชะพระอ งค์...
          ใน กท ๖:๑๔...ส่วนข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่โอ้อวดสิ่งใดนอกจากเรื่องไม้กางเขนของพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา อาศัยไม้กางเขนนี้ โลกถู กตรึงตายไปจากข้าพเจ้า และข้าพเจ้าก็ถูกตรึงตายไปจากโลกแล้ว...
          และใน คส ๑:๒๐...และให้สรรพสิ่งคืนดีกับพระเจ้าโดยทางพระองค์ พระคริสตเจ้าโปรดให้ทุกสิ่งมีสันติ ด้วยพระโลหิตที่ทรงหลั่งบนไม้กางเขนของ พระองค์ ทั้งสิ่งที่อยู่บนแผ่นดินและสิ่งที่อยู่ในสวรรค์...
          และท่านนักบุญเองก็ไม่ได้เน้นมากมายนักทัศนะทางลบของไม้กางเขน ที่ว่าเป็นอุปกรณ์ใช้ทรมานมนุษย์ ดังนั้นในความความรู้สึกนึกคิดของบรรดาค ริสตชน ถือว่าไม้กางเขนมีบทบาทของการช่วยให้รอดพ้นในแผนการของพระเจ้า เช่นเดียวกับพระคริสตเจ้าที่ได้เป็นผู้มีชัยเหนือความตายและบาปโดยทางพระทรมานของพระองค์ ไม้กางเขนซึ่งเป็นวิธีการของการทนทุกข์ทรมาน ก็ได้กลับกลายเป็นท่อธารแห่งชีวิต
          มิใช่เฉพาะบนกำแพงของอาคารบ้านเรือนของบรรดาคริสตชน ที่ได้รับการตราด้วยสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์หรือด้วยรูปไม้กางเ ขนในรูปแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่ว่าหินหรือวัตถุมีค่าอื่นๆ ก็ได้รับการสลักเป็นรูปไม้กางเขนด้วย ด้วยการค้นพบไม้กางเขนจริงขอ งพระเยซูเจ้า ความศรัทธาภักดีต่อไม้กางเขนก็ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าพระธาตุของไม้กางเขนจะได้ถูกแจกจ่ายออกไปทั่วโลก การไปจาริกแสวงบุญยังแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์เพื่อที่จะนมัสการไม้ศักดิ์สิทธิ์นี้ก็เกิดขึ้นแพร่หลายเป็นอย่างมากเช่นกัน
          เพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีความเข้าใจผิดเกิดขึ้น สภาพระสังคายนาแห่งเมืองนีเชอา ที่ ๒ (๗๘๗) ได้ประกาศว่าการกราบไห ว้มนัสการไม้กางเขนของบรรดาสัตบุรุษที่มีต่อไม้กางเขนและรูปภาพของพระคริสตเจ้านั้นเท่ากับว่าเป็นการกราบไหว้นมัสการองค์พร ะคริสตเจ้าเอง  ดังนั้นพระศาสนจักรจึงเรียกร้องให้มีการคุกเข่าต่อหน้าไม้กางเขนในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์  รวมทั้งให้มีภาคพิเศษในพิธีกรรมวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์เพื่อการกราบไหว้นมัสการไม้กางเขนอีกด้วย และ
บรรดาคริสตชนก็ได้รับการเชิญชวนให้เข้าจูบไม้กางเขนด้วย  ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการประกาศชัยชนะอันทรงเกียรตของไม้กางเขนอีก ด้วยการเฉลิมฉลองทางพิธีกรรมเพื่อถวายเกียรติแด่ไม้กางเขนนี้ ได้มีมาตั้งแต่ยุคแรกๆ ของพระศาสนจักร โดยสัมพันธ์กับการค้น พบไม้กางเขนตัวจริงและการสร้างพระวิหารถวาย ณ ที่ที่ปลงพระศพพระเยซูเจ้าและที่เนินเขากัลวารีโอที่กรุงเยรูซาเลม และในปี ๓๒๕ ได้มีการเฉลิมฉลอง อย่างสง่าและยิ่งใหญ่การถวายพระวิหารทั้งสองนี้  ในวันที่ ๑๓ และ ๑๔ กันยายน ต่อมาวันฉลองเทิดทูนไม้กางเขนนี้ ก็เฉลิมฉลองนอย่างสง่าและยิ่งใหญ่เ ป็นประจำทุกๆปี ทั้งได้แผ่ขยายไปยังศาสนจักรตะวันออกอื่นๆ แต่ว่าพระศาสนจักรที่กรุงโรมได้รับเอาวันฉลองเทิดทูนไม้กางเขนนี้ในศตวรรษที่ ๗ และได้ทำการเฉลิมฉลองเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้....

นพวารพระหฤทัยพระเยซู


นพวารพระหฤทัยพระเยซู


โอ้ พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซู บ่อเกิดแห่งพระพรทุกประการ
ข้าพเจ้านมัสการพระองค์ ข้าพเจ้ารักพระองค์
ด้วยความทุกข์ถึงบาป ข้าพเจ้าขอถวายพระองค์ดวงใจน่าสมเพชของข้าพเจ้า
โปรดให้ข้าพเจ้าเป็นคนสุภาพถ่อมตน อดทน บริสุทธิ์
และนบนอบน้ำพระทัยของพระองค์
โอ้ พระเยซู องค์ความดีบริบรูณ์
โปรดให้ข้าพเจ้าดำรงชีพในพระองค์และเพื่อพระองค์
โปรดคุ้มครองข้าพเจ้าในภัยอันตราย
ปลอบใจข้าพเจ้าในความทุกข์ยาก
ประทานแก่ข้าพเจ้า สุขภาพ ความช่วยเหลือทางโลก พระพรในทุกกิจการที่ข้าพเจ้าทำ
และพระหรรษทานแห่งการตายดี
ข้าพเจ้าขอฝากทุกสิ่งไว้ในพระหฤทัยและความอารักขาของพระองค์
ในความต้องการทุกชนิด ให้ข้าพเจ้ามาหาพระองค์ด้วยความวางใจอันสุภาพอ่อนโยน
และภาวนาว่า “พระหฤทัยพระเยซู โปรดช่วยข้าพเจ้าด้วยเถิด”
       

คำภาวนาสั้น ๆ อุดมด้วยพระคุณการุณย์
พระเยซู องค์พระเมตตา ข้าพเจ้าขอถวายตัวแด่พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระองค์ในวันนี้และตลอดไป
พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซู โปรดให้ข้าพเจ้ารักพระองค์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซู ข้าพเจ้าวางใจในพระองค์
พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซู ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระองค์รักข้าพเจ้า
พระเยซู พระทัยสุภาพอ่อนโยน โปรดให้ดวงใจของข้าพเจ้าละม้ายคล้ายพระหฤทัยของพระองค์
พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซู พระอาณาจักรจงมาถึง
พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซู โปรดให้คนบาปกลับใจ
โปรดช่วยคนกำลังจะสิ้นใจให้รอด โปรดปลดปล่อยวิญญาณออกจากไฟชำระ
       

บทภาวนาก่อนใช้อินเตอร์เน็ต น.อิสิดอร์ องค์อุปถัมภ์ของผู้ใช้อินเตอร์เน็


บทภาวนาก่อนใช้อินเตอร์เน็ต 

นักบุญอิสิดอร์ องค์อุปถัมภ์ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต





     ข้าแต่พระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพและสถิตนิรันดร ผู้ทรงสร้างเรามาด้วยพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ และทรงให้เราแสวงหาแต่สิ่งที่ดีสวยงามและจริงแท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพระบุคคลอันศักดิ์สิทธิ์ของพระบุตรแต่องค์เดียว คือพระคริสตเจ้าของเรา
     โดยอาศัยคำเสนอวิงวอนของนักบุญอิสิดอร์ พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร โปรดให้เราได้ใช้มือและตาของเราในระหว่างการใช้อินเตอร์เนท ทำในสิ่งที่สบพระทัยพระองค์ และปฏิบัติต่อทุกคนที่เราจะพบด้วยความรักและความเมตตา ทั้งนี้โดยอาศัยพระคริสตเจ้า พระเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย อาแมน




        

การค้นพบไม้กางเขน





ผู้เขียนพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ มิได้เอ่ยถึงว่าอะไรได้เกิดขึ้นกับไม้กางเขนที่ได้ตรึงพระเยซูเจ้า หรือไม้กางเขนที่ได้ตรึงโจรทั้งสองคนพร้อมกับพระองค์ ได้ถูกกลบซ่อนไว้ที่ไหน นักบุญจัสติน มรณสักขี และโอรีเจน ซึ่งทั้งสองท่านได้เคยอยู่ที่ประเทศปาเลสไตน์ ก่ อนปี ๓๕๐ ได้พูดถึงแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็ไม่ได้เอ่ยถึงอะไรเกี่ยวกับไม้กางเขนเลย
           จักรพรรดิ์คอนสแตนตินที่ ๑ ในจดหมายที่ทรงแสดงความยินดีกับพระสังฆราชมาคารีอุสแห่งกรุงเย รูซาเลม ได้ทรงเสนอให้กับพระสังฆราชว่าจะสร้างวัดที่สง่างามบนที่ฝังพระศพของพระเยซูเจ้าให้ แต่ก็มิได้ทรงกล่าวถึงเรื่องไม้กางเขนของพระเยซูเจ้าแต่อย่างใด การจาริกแสวงบุญของบอร์โดส์ซึ่งได้ไปเยี่ยมเ นินโกลโกธาในปี ๓๓๓ ได้บรรยายเรื่องวัดของจักรพรรดิคอนสแตนติน แต่กินิ่งเงียบในเรื่องของไม้กางเขนเช่นกัน
           ยูเซบีอุส แห่งซีซาริยา นักประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรในยุคเดียวกัน ไ ด้ชมเชยการประดับ ปร ะดาอย่างอลังการของจักรพรรดิ บนสถานที่ที่ฝังพระศพของพระเยซูเจ้า แต่ก็ยังสงบนิ่งเช่นเคยเกี่ยวกับเรื่อ งของไม้กางเขนในบทความเรื่อง “ชีวิตของจักรพรรดิคอนสแตนติน” และ “การจาริกแสวงบุญของนักบุญเฮเลนายังแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์” ของท่าน
           นักบุญซีริล แห่งกรุงเยรูซาเลม ในการบรรยายเรื่องคำสอนในเทศกาลมหาพรต ท่านได้ยืนยันกับบรรดาผู้ที่ สมั ครเรียนคำสอนเพื่อรับศีลล้างบาป (คริสตังค์สำรอง) ว่าไม้กางเขนของพระคริสตเจ้า ได้อยู่ในความครอบครองของพระศาสนจักรที่กรุงเยรูซาเลมชั่วระยะเวลาหนึ่ง  และไม้กางเขนที่ได้ถูกแยกชื้นส่วนออกมา เพราะความเชื่อ ศรัทธาขอ งบรรดาคริสตชนนั้น ก็ได้กระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่างๆทั่วประเทศปาเลสไตน์ ในจดหมายฉบับหนึ่งที่ท่านนักบุญได้เขียนถึงจักรพรรดิคอนสแตนซีอุสที่ ๒ ได้รายงานถึงการประจักษ์มาของไม้กางเขนที่ส่องแสงสุกใสในท้องฟ้าเหนือ กรุงเยรูซาเลมเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๓๕๑ นักบุญซีริล ยังได้เอ่ยถึงไม้ที่สามารถบันดาลการช่วยให้ รอดพ้นของไม้ก างเขน  ที่ถูกค้นพบในเมืองหลวงระหว่างรัชสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนติน ความเชื่อมั่นว่าไม้กางเขนของพระคริสตเจ้าได้ถูกค้นพบแล้วนั้น ได้แผ่ขยายออกไปอย่ างกว้างขวางในโลกของ คริสตศาสนาในครึ่งหลังของศตวรรษที่ ๔ และได้มีการยืนยันว่าได้มีชิ้นส่วนของไม้กางเขนจริงของพระเยซูเจ้าในแคว้นคัปปาโดเขียในสมัยของนักบุญมาครีนาซึ่งเป็นน้องสาวของนัก บุญบาซิล องค์ใหญ่ และนัก บุญเกรกอรี่ แห่งนิสสา ในปี ๓๗๐ และที่เมืองอันทิโอค ในปี ๓๘๖-๗ และในประเทศอิตาลีและฝรั่งเศส ในปี ๔๐๓ ในเวลาต่อมา มีการบันทึกไว้ว่า ณ พิธีกราบไหว้ไม้กางเขนในวั นศุกร์ศํกดิ์สิทธิ์ ต้องมีสังฆานุกร ๒ ท่าน คอยคุกเข่าอยู่ข้างๆ เพื่อมิให้คริสตชนที่มาร่วมพิธี เข้าไปจูบไม้กางเขน อาจจะกัดเอาชิ้นส่วนของไม้กางเขนหลุดออกมากับปาก เพื่อเอาไปเป็นพระธาตุ นอกนั้นก็ยั งได้มีกล่าวถึงการแห่เทิดทูนไม้กางเขนเป็ นประจำทุกๆปี เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการค้นพบไม้กางเขน ดังนั้นจึงเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าการค้นพบไม้กางเขนนั้น น่าจะเกิดขึ้นในวันที่ ๑๓ กันยายน ระหว่างปี ๓๒๕-๓๓๔ แต่เป็นที่น่าประหลาดใจว่า ยูเซบีอุส แห่งซีซาริยา มิได้ให้การสนับสนุนในทางบวกเกี่ยวกับวันเดือนปีของการค้นพบไม้กางเขนนี้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามในศตวรร ษที่ ๗ ในบัทึก “Chronicon Paschale” ได้ให้วันเดือนปีที่แน่นอนของการค้นพบไม้กางเขน คือวันที่ ๑๔ กันยายน ๓๒๐
           ได้มีคำบอกเล่าในลักษณะของนิยาย เกี่ยวกับการค้นพบไม้กางเขน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับนักบุญ
เฮเลนา มารดาของจักรพรรดิคอนสแตนติน ที่ได้ออกคำสั่งให้ขุดค้นหาไม้กางเขนของพระเยซูเจ้า ไม่ว่าแรงจูงใจนี้ จะเกิดขึ้นจากความประสงค์ของพระนางเอง หรือเพราะได้รับการดลใจ หรือเพราะการขอร้องจากจักรพรรดิบุตร ชาย ก็ได้พบไม้กางเขน ๓ อัน เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าอันไหนเป็นไม้กางเขนจริงข องพระเยซูเจ้า จึงได้ให้นำคนตา ยคนหนึ่งมาให้กางเขนทั้ง ๓ อันสัมผัส ไม้กางเขนอันที่สามารถบันดาลให้คนตายนั้นกลับมีชีวิตขึ้นใหม่นั่นแหละ จะเป็นกางเขนจริงที่ได้ตรึงพระเยซูเจ้า
           นักบุญยอห์น คริสซอสโตม ไม่อยากจะเชื่อเรื่องที่บอกเล่านี้เลย โดยได้กล่าวว่าพระ ผู้ไถ่ มิได้ทิ้งไม้กางเขนของพระองค์ไว้บนโลกนี้เลย แต่พระองค์ได้ทรงนำไม้กางเขนนี้ติดตัวพระองค์ไปสวรรค์ด้วย เนื่องจากว่าพระองค์จะต้องปรากฎองค์พร้อมกับไม้กางเขนของพระองค์ ในการเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระอง ค์ และยัง มีความคิดเห็นที่ปรากฎออกมาในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ว่าบางส่วนของไม้กางเขนที่ได้สัมผัสพระวรกายของพระคริสตเจ้า และได้เประเปื้อนด้วยพระโลหิตของพระองค์ ได้ถูกยกขึ้นสู่สวรรค์ และจะปรากฎให้เห็นอีกครั้งหนึ่งในการพิพากษาสุดท้าย

ผู้กลับใจ