27 ธันวาคม 2556

หนทางความจริงและชีวิต แสงธรรมขุดพิเศษ 1

ความเชื่อที่ขัดกับความคิดเห็นของคนทั่วไป

"พระเยซูตรัสกับเขาว่า '“เพราะท่านได้เห็นเราท่านจึงเชื่อหรือ ผู้ที่ไม่เห็นเราแต่เชื่อก็เป็นสุข' " (ยอห์น 20:29)

นายปัญญาโลก ซึ่งเป็นตัวละครในเรื่องปริศนาธรรมของ จอห์น บันยัน กล่าวว่า "การเห็นคือความเชื่อ" แต่ผู้มีความเชื่อยืนยันว่า "ความเชื่อคือการเห็น"
เมื่อดูเผิน ๆ คำสอนในพระคัมภีร์หลายแห่งคล้าย ๆ จะขัดกับหลักของเหตุและผล พระเยซูทรงเคยเอาความจริงฝ่ายจิตวิญญาณมาสอนด้วยวิธีแสดงให้เห็นถึงความจริงที่ขัดกับความเห็นของคนทั่วไป ตัวอย่างเช่น พระองค์ตรัสว่า
"เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ถ้าเมล็ดข้าวไม่ได้ตกลงไปในดินและเปื่อยเน่าไป ก็จะคงอยู่เป็นเมล็ดเดียว แต่ถ้าเปื่อยเน่าไปแล้ว ก็จะงอกขึ้นเกิดผลมาก" (ยอห์น 12:24)
เปาโลเขียนจดหมายโดยใช้วิธีเดียวกันว่า
"ข้าพเจ้าถูกตรึงไว้กับพระคริสต์แล้ว ข้าพเจ้าเองไม่มีชีวิตอยู่ต่อไป แต่พระคริสต์ต่างหากที่ทรงมีชีวิตอยู่ในข้าพเจ้า ชีวิตซึ่งข้าพเจ้าดำเนินอยู่ในร่างกายขณะนี้ ข้าพเจ้าดำเนินอยู่โดยศรัทธาในพระบุตรของพระเจ้า ผู้ได้ทรงรักข้าพเจ้า และได้ทรงสละพระองค์เองเพื่อข้าพเจ้า" (กาลาเทีย 2:20)
คำสอนเรื่องความเชื่อ มักแฝงไว้ในสิ่งที่ดูเผิน ๆ ก็ขัดกับความคิดทั่ว ๆ ไป
การอดทนพิสูจน์ให้เห็นความเชื่อของโมเสส "ประหนึ่งได้เห็นพระองค์ผู้ไม่ทรงปรากฎแก่ตา"
"เพราะความเชื่อ ท่านได้ออกจากประเทศอียิปต์ โดยมิได้เกรงกลัวความกริ้วของกษัตริย์ เพราะท่านมั่นใจประหนึ่งได้เห็นพระองค์ผู้ไม่ทรงปรากฏแก่ตา"(ฮีบรู 11:27)
แต่คนเราจะเห็นผู้ไม่ปรากฎแก่ตาได้อย่างไร ความเชื่อจะต้องนำมาใช้ในโลกของสิ่งที่ตามองไม่เห็น ซึ่งจะพิสูจน์ด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์ไม่ได้ แต่เป็นโลกของสิ่งที่มีจริง สิ่งที่ตามองเห็นไม่ได้เป็นสิ่งที่มีจริง ถ้าคนเชื่อในสิ่งที่ตาเห็นได้ย่อมไม่มีปัญหา ทว่าเมื่อมองเห็นได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีความเชื่อ ความเชื่อเป็นข้อพิสูจน์ของสิ่งที่ยังไม่ได้เห็นว่ามีจริง และเอิ่งที่ยังมองไม่เห็นนั้นมาเป็นประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เชื่อ ความเชื่อคือการแน่ใจ โดยที่ยังไม่เห็น
ความเชื่อทำให้เราร้องเพลงได้ แม้จะติดคุกอยู่ นี่เป็นสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ ในเรื่องของเปาโลและสิลาส ทั้งสองร้องเพลงสรรเสริญแม้ยังไม่ได้รับการปลดปล่อย ความเชื่อนี้ถวายเกียรติแด่พระเจ้าขณะที่อยู่ในสถานการณ์สิ้นหวัง เป็นการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพแม้จะติดโซ่ตรวนอยู่
"คำแสดงความคิดถึงนี้เป็นลายมือของข้าพเจ้า เปาโล ขอท่านจงระลึกถึงโซ่ตรวนของข้าพเจ้า ขอให้พระคุณดำรงอยู่กับท่านด้วยเถิด" (โคโลสี 4:18)
เปาโล นักรบเก่าผู้ประสบชัยชนะกล่าวเตือนไว้
พลังที่เรามองไม่เห็น แต่มีอยู่จริงล้อมอยู่รอบตัวเรา เมื่อคนใช้ของเอลีชา มองเห็นกองทัพศัตรูบุกรุกเข้ามา ก็ร้องออกมาด้วยความหวาดกลัวว่า "อนิจจา นายของข้าพเจ้า เราจะทำอย่างไรดี" เอลีชาผู้ผ่านศึกแห่งความเชื่อมาอย่างโชกโชน ได้อธิษฐานว่า

"แล้วเอลีชาก็อธิษฐานว่า 'ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงเบิกตาของเขาเพื่อเขาจะได้เห็น และพระเจ้าทรงเบิกตาของชายหนุ่มคนนั้น และเขาก็ได้เห็นและดูเถิด ที่ภูเขาก็เต็มไปด้วยม้า และรถรบเพลิงอยู่รอบเอลีชา' " (2พงษ์กษัตริย์ 6:17)

ความเชื่อที่จำเริญขึ้น

"ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย เราต้องขอบพระคุณพระเจ้าเพราะท่านทั้งหลายอยู่เสมอ และเป็นการสมควรเพราะความเชื่อของท่านก็จำเริญยิ่งขึ้น และความรักของท่านทุกคนที่มีต่อกันทวีขึ้นมากด้วย" (2เธสะโลนิกา 1:3)

พระเยซูทรงสั่งสาวกให้ยกบาปต่อพี่น้องที่กระทำผิดแล้วมาขอโทษ แม้จะเป็นเช่นนี้ถึงวันละเจ็ดครั้งก็ตาม สาวกตอบอย่างงง ๆ ว่า "ขอพระองค์โปรดให้ความเชื่อของพวกข้าพเจ้ามากยิ่งขึ้น"
"ฝ่ายอัครทูตทูลพระองค์ว่า 'ขอพระองค์โปรดให้ความเชื่อของพวกข้าพเจ้ามากยิ่งขึ้น' " (ลูกา 17:5)
นกรณีนี้เขาขอความเชื่อ เป็นการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง เพราะรู้ตัวว่าไม่สามารถทำตามสิ่งที่พระเยซูตรัสสอน เขาจึงขอให้มีความเชื่อมากขึ้น ด้วยเหตุว่าเขาจะทำตามคำสอนนี้ได้ด้วยความเชื่อเท่านั้น การวินิจฉัยว่าขาดความเชื่อจึงเป็นเรื่องจริง แต่ไม่จริงทั้งหมด เพราะพระเยซูตรัสตอบโดยสอนให้เขาเห็นว่า ที่จริงเขาไม่ต้องการให้เพิ่มความเชื่อ แต่ต้องการความเชื่อที่มีชีวิตเหมือนอย่างเมล็ดผักกาดเล็ก ๆ ที่แฝงด้วยชีวิตอยู่ภายใน
"พระองค์จึงตรัสว่า 'ถ้าพวกท่านมีความเชื่อเท่าเมล็ดพืชเมล็ดหนึ่ง ท่านก็จะสั่งต้นหม่อนนี้ได้ว่า 'จงถอนขึ้นออกไปปักในทะเล' และมันจะฟังท่าน' " (ลูกา 17:6)
ดังนั้น เรื่องนี้จึงไม่ใช่ความเชื่อมากหรือน้อย แต่เป็นเรื่องคุณภาพของความเชื่อ จะต้องเป็นความเชื่อที่เติบโตขึ้น เพราะที่ใดมีชีวิต ที่นั่นต้องมีการเจริญเติบโตงอกงาม
เปาโล เขียนถึงคริสเตียนที่เมืองเธสะโลนิกาว่า
"ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย เราต้องขอบพระคุณพระเจ้าเพราะท่านทั้งหลายอยู่เสมอ และเป็นการสมควรเพราะความเชื่อของท่านก็จำเริญยิ่งขึ้น และความรักของท่านทุกคนที่มีต่อกันทวีขึ้นมากด้วย" (2เธสะโลนิกา 1:3)
พัฒนาการทางจิตวิญญาณจะก้าวหน้าและลึกล้ำได้ ย่อมขึ้นอยู่กับความเจริญเติบโตของความเชื่อ
ถ้าทุกสิ่งเป็นไปตามเงื่อนไขเหล่านี้ ความเชื่อจะเติบโตขึ้นได้อย่างอัตโนมัติ พระสัญญาของพระเจ้าเป็นอาหารเลี้ยงความเชื่อ บรรยากาศของความเชื่อจะเกิดขึ้นได้เมื่อเราเข้าเฝ้าอยู่ต่อพระพักตร์พระเจ้า ถ้าที่ใดมีความสงสัย ความเชื่อจะไม่อาจเติบโตได้ ถ้ามนุษย์ไม่มีที่พึ่งอื่นใด ก็ย่อมต้องพึ่งพระเจ้ามากยิ่งขึ้น ถ้าเรายึดมันตามพระสัญญามากขึ้นเท่าไร ความเชื่อก็จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
คนทั่วไปมักคิดว่า การที่พระเจ้าทรงตอบคำอธิษฐานบ่อยและรวดเร็ว เป็นการเพิ่มความเชื่อ แต่ที่จริงแล้วตรงกันข้าม ความเชื่อจะเจริญขึ้นได้ ย่อมมาจากการที่ต้องต่อสู้อดทนในความยากลำบาก เมื่อไม่มีที่พี่งอื่นใดนอกจากพระเจ้า

ความเชื่อเจริญขึ้นได้มากที่สุด เมื่อเราวางใจพระเจ้า และไม่ใส่ใจกับข้อสงสัยใด ๆ วิธีแน่นอนที่สุดในการหยุดยั้งความเชื่อ คือ เก็บความสงสัยเอาไว้ และไม่ไว้ใจพระเจ้า ความเชื่อมักจะขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนาที่จะเชื่อ ไม่ใช่อยู่ดี ๆ ก็เชื่อขึ้นมาลอย ๆ อย่างไม่มีเหตุผล

ประวัติพระนางมารีอา


ประวัติพระนางมารีอา




เราพอจะเล่าประวัติของพระนางมารีอาได้ดังนี้
ท่านนักบุญอากิม(Saint Joachim) และนักบุญอันนา(Saint Anna) เป็นบิดาและมารดาของพระนาง เดิมไม่มีบุตร เนื่องจากนักบุญอันนาเป็นหมัน ท่านทั้งสองภาวนาต่อพระเป็นเจ้า พระองค์ทรงฟังคำภาวนาของท่านทั้งสอง จึงได้ให้นักบุญอันนาบังเกิดบุตรี ชื่อว่า มารีอา

พระนางมารีอาถวายตัวแด่พระเป็นเจ้า โดยตั้งใจจะถือพรหมจรรย์ เมื่อถึงเวลาอันควรก็ต้องแต่งงานกับชายคนหนึ่งเพื่อเป็นคู่อุปถัมภ์ พระนางมารีอาได้หมั้นกับนักบุญยอแซฟ ซึ่งเป็นเวลาที่เทวดาคาเบรียลมาแจ้งแก่พระนางว่าจะตั้งครรภ์

เมื่อนักบุญยอแซฟทราบ ท่านก็ไม่เข้าใจ และคิดจะถอนหมั้นเงียบๆเพราะท่านเป็นคนชอบธรรม แต่เทวดาได้มาแจ้งแก่ท่านในฝันว่า ให้รับพระนางมารีอาไว้เป็นภรรยา เพราะบุตรที่เกิดมาคือองค์พระมหาไถ่ เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นไปโดยอาศัยฤทธิ์อำนาจของพระจิตเจ้า
เราเห็นถึงความรักต่อพระเป็นเจ้าที่พระนางมารีอาแสดงออกในชีวิตอันเป็นแบบอย่างดีแก่เรา ในการรับใช้พระเป็นเจ้าด้วยการทำตามน้ำพระทัยของพระในชีวิตของเรา แม้ท่ามกลางความทุกข์ลำบาก "แม่พระมหาทุกข์ 7 ประการ" คือวันฉลองวันหนึ่งในพิธีกรรมคาทอลิกที่พิจารณาถึงความทุกข์ในชีวิตของแม่พระ อันมีเหตุการณ์ยากลำบาก 7 ประการใหญ่ คริสตชนใช้รำพึง และใคร่ครวญถึงชีวิตที่รักพระ ด้วยการร่วมทุกข์ในแผนไถ่บาปอย่างที่พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์ไถ่บาปมนุษย์ หากเราเข้าใจความทุกข์ในแง่นี้ เราก็จะสามารถมีชีวิตและบรรลุถึงเมืองสวรรค์ได้ การยอมรับน้ำพระทัยของพระเพื่อเข้าร่วมส่วนในมหาทรมานของพระเยซูเจ้าชดเชยบาป และไถ่บาปมนุษย์ทุกคน

คัดจากหนังสือ " ความเชื่ออันเป็นชีวิต" โดย พงศ์ ประมวล หนังสืออันดับที่ 117 จากการพิมพ์คาทอลิกประเทศไทย

อ้างอิงแหล่งที่มา : http://www.dbac.ac.th/TheBible/mother/mother2.html
พระนาม มารีย์” อาจมีความหมายได้ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1.  มารีอา  ภาษาฮีบรู แปลว่า  ดาวทะเล หรือ ดาราสมุทร 
2.
 มารีอา ภาษาซีเรียน แปลว่า  คุณนาย  (Our Lady, Notre Dame, Ma(Mia) Donna)
3. 
มารีอา ภาษาอียิปต์ แปลว่า  ผู้ที่พระเจ้าทรงรัก โปรดปราน
ในสมัยพระเยซูเจ้ามีผู้ตั้งชื่อนี้กันมาก คนแรกที่ใช้ชื่อนี้คือ พี่สาวของโมเสส(มีเรียม = มารีอา) สมัยชาวอิสราเอล ตกเป็นทาสของชาวอียิปต์

พระนางมารีย์ พระชนนีพระเป็นเจ้า สมโภชวันที่ 1 มกราคม


พระนางมารีย์ พระชนนีพระเป็นเจ้า

สมโภชวันที่ 1 มกราคม


วันที่ 8 หลังจากการฉลองพระคริสตสมภพ ( 25 ธันวาคม ) เราคริสตชนทำการฉลอง “พระนางมารีย์ พระชนนีพระเจ้า” แต่ว่า วจนพิธีกรรมในวันฉลองวันนี้แทนที่จะเน้นที่ “พระนางมารีอา” กลับไปเน้นที่ “พระบุตรของพระนางและพระนามของพระบุตร”
นักบุญเปาโลได้ย้ำถึงผลงานของการช่วยให้รอดที่ได้สำเร็จลงในองค์พระเยซูคริสตเจ้า ซึ่งพระนางมารีอาเองก็ได้มีส่วนอยู่ด้วย เพราะว่าเป็นพระนางเองที่พระบุตรพระเป็นเจ้า สามารถเสด็จลงมาในโลกนี้ในฐานที่ทรงเป็นมนุษย์จริง ๆ คนหนึ่ง ส่วนพระวรสารของวันนี้ได้จบลงด้วยการตั้งพระนาม “เยซู” ให้กับพระผู้เพิ่งได้บังเกิดมา ในขณะที่พระนางมารีย์ทรงมีส่วนร่วมในรหัสธรรมของพระบุตรพระเป็นเจ้าองค์นี่อย่างเงียบๆ
แม้ว่า วจนพิธีกรรมในการฉลองในวันนี้จะมุ่งความสนใจไปหา “องค์พระบุตร” แต่ก็มิได้ทำให้บทบาทของผู้ที่เป็น “พระชนนีพระเจ้า” ด้อยลงไปแต่อย่างใด การที่พระนางมารีย์เป็นพระชนนีพระเจ้าจริง ๆ ก็เพราะความสัมพันธ์ที่พระนางมีต่อพระบุตรอย่างแนบแน่นนั่นเอง ดังนั้น ยิ่งเราคริสตชนจะให้ความคารวะต่อพระนางเพียงใด พระบุตรก็ยิ่งจะได้รับการถวายพระเกียรติมากขึ้นเท่านั้น
การที่เราเรียกพระนางมารีย์ว่าเป็นพระชนนีพระเจ้า เป็นการแสดงให้เห็นถึงภาระหน้าที่ที่พระนางมีในประวัติศาสตร์แห่งความรอด และจากข้อเท็จจริงประการนี้แหละ ที่เป็นที่มาของความศรัทธาภักดีชนิดต่างๆ ที่บรรดาคริสตชนมีต่อพระนางมารีย์ เพราะว่าพระนางได้รับพระคุณมากมายจากพระเป็นเจ้ามิใช่สำหรับพระนางแต่เพียงผู้เดียว แต่ว่าเพื่อจะนำพระคุณ เหล่านั้นไปให้กับมวลมนุษย์อีกทอดหนึ่ง
พระชนนีพระเจ้าและพระมารดาของมนุษยชาติ
พระนาม “เยซู” อันมีความหมายว่า “พระเจ้าทรงช่วยให้รอด” ได้ช่วยนำเราให้เข้าสู่ธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม คือ จากการรับเอากายในครรภ์ของพระมารดา โดยเดชะพระจิต จนถึงการบังเกิด การเข้าพิธีสุหนัต และไปสิ้นสุดที่รหัสธรรมปาสกาคือที่การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนชีพ พระเยซูเจ้าจึงเป็นพระพรที่ครบบริบูรณ์ของพระเจ้า เป็นพระพรของการช่วยให้รอด และเป็นสันติภาพสำหรับมนุษย์ทุกคน
พวกเราได้รับการช่วยให้รอดในพระนามของพระองค์ (กจ. 2:21; รม.10:10,13) แต่ว่าการช่วย ให้รอดนี้ได้มาสู่มวลมนุษย์โดยผ่านทางพระนางมารีย์ และพระนางได้แบ่งปันพระคุณนี้ให้กับประชากรของพระเจ้า ดังเช่นที่เมื่อครั้งหนึ่งพระนางได้ให้กับพวกคนเลี้ยงแกะ พระนางมารีอาได้ให้ชีวิตมนุษย์แก่พระบุตรพระเจ้า และได้แบ่งปันชีวิตพระให้กับมนุษย์สืบมา ด้วยเหตุนี้ พระนางจึงได้รับการคารวะให้เป็นพระมารดาของมนุษย์ทุกคนซึ่งพระนางได้กำเนิดชีวิตพระให้
เช่นเดียวกับบรรดาคริสตศาสนิกชนทั้งหลาย พวกเราให้ความคารวะแด่พระนางมารีย์พรหมจารี ผู้ซึ่งพระสังคายนา ณ เมืองเอเฟซัส ได้ประกาศอย่างสง่าว่า พระนางทรงเป็นพระชนนีของพระเจ้าเพราะพระคริสตเจ้าได้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นบุตรพระเจ้าและเป็นมนุษย์ด้วย (UR 15)
พระมารดาแห่งสันติภาพ
ในพระนามของพระนางมารีย์ พระชนนีพระเจ้าและมารดาของปวงมนุษย์ ที่ทั่วโลกทำการฉลอง “วันแห่งสันติภาพ” ในวันนี้เป็นสันติภาพที่พระนางได้ค้นพบในความรักต่อองค์พระเจ้า เป็นสันติภาพที่พระเยซูเจ้าได้นำมาให้กับมนุษย์ทุกคนที่มีความเชื่อในพลังแห่งความรัก
สันติภาพในความหมายของพระคัมภีร์คือ พระคุณสุดวิเศษของพระแมสซียาห์ซึ่งหมายถึงการช่วยให้รอดที่พระเยซูเจ้าได้นำมาให้ และการที่เราได้คืนดีและมีสันติกับพระเจ้า นอกนั้นสันติภาพยังเป็นค่านิยมสูงส่งที่มนุษย์ทุกคนจะต้องพยายามช่วยกันสร้างสรรขึ้นมาให้ได้ เป็นต้นในระดับนานาชาติ
ความเชื่อในพระคริสตเจ้า สันติภาพระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ และสันติภาพระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เป็นภาระหน้าที่ที่คริสตชนทั้งหลายจะต้องมีบทบาทอย่างเต็มที่เสียก่อน เพราะว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากๆ ที่จะก่อให้เกิดสันติภาพในโลก โดยทั่วๆไป สันติภาพของพระคริสตเจ้ามิได้แตกต่างอะไรไปจากสันติภาพที่มนุษย์ทุกคนปรารถนาอยากได้ จึงควรที่เราทุกคนจะได้อุทิศชีวิตเพื่อจะได้มาซึ่งสันติภาพดังกล่าวนี้
พระศาสนจักรไม่เคยหยุดที่จะให้ความสนใจถึงความจำเป็น ที่เราทุกคนจะต้องมีส่วนช่วยกันสร้างสันติภาพที่แท้จริง สันติภาพที่แท้จริงนี้ต้องตั้งอยู่บนความจริง ความยุติธรรม ความรัก และเสรีภาพ ซึ่ง เปรียบเสมือนเสาหลัก 4 ต้นของบ้านแห่งสันติภาพ ที่เปิดกว้างต้อนรับทุกๆคน (พระสันตะปาปายอห์น ที่ 23, 11-4-1963)
ต้องยุติสงครามและการสร้างอาวุธ
พระสันตะปาปาปอล ที่ 6 ได้กล่าวไว้ในโอกาสเสด็จไปที่องค์การ สหประชาชาติที่กรุงนิวยอร์ค ว่า “...จะต้องหยุดการต่อสู้หักล้างกันเสียที...พฤติกรรมเช่นนี้จะต้องไม่มีอีกต่อไป...” และด้วยจุดประสงค์ดังกล่าวสหประชาชาติจึงได้เป็นตัวเป็นตนขึ้นมาสำหรับยุติสงครามและสร้างสันติภาพขึ้นแทน พวกเรายังคงจำคำพูดของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ยอห์น เอฟ เคนาดี้ ได้ ที่กล่าวว่า “มนุษยชาติจะต้องยุติสงครามให้ได้ หรือจะให้สงครามยุติพวกเรา” ไม่จำเป็นต้องใช้คำพูดมากมายสำหรับประกาศเป้าหมายอันสูงส่งของสถาบันแห่งนี้ (=สหประชาชาติ) ให้เราเพียงแต่คิดถึงหยาดเลือดของมนุษย์จำนวนนับล้านๆ และความทุกข์ทรมานอีกนับจำนวนไม่ถ้วนที่มักจะเงียบหายเข้าไปในกลีบเมฆ รวมทั้งซากปรักหักพังต่างๆ ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้พยายามที่จะช่วยสร้างสรรสันติภาพ และกำลังหาหนทางที่จะเปลี่ยนประวัติศาสตร์ในอนาคตของโลกให้จงได้ คือ จงยุติสงครามเสียเถิด
“สันติภาพจะต้องคอยนำโชคชะตาของปวงชนและมนุษยชาติทั้งหมด ถ้าพวกท่านต้องการเป็นพี่น้องกันก็จงปลดอาวุธเสีย เราไม่สามารถรักกันได้โดยที่ยังมีอาวุธร้ายอยู่ในมือ” (สุนทรพจน์ที่องค์การสหประชาชาติ 4 ตุลาคม 1995)
บทอ่านที่ 1 บทอ่านจากหนังสือกันดารวิถี 
กดว 6:22-27
พระเป็นเจ้าตรัสแก่โมเสสว่า “จงบอกอาโรนและบุตรชายทั้งหลายของเขาว่า ท่านทั้งหลายจงอวยพรแก่บุตรหลานอิสราเอลว่าดังนี้
“ขอพระเจ้าอวยพรแก่ท่าน และปกปักรักษาท่าน ขอพระเจ้าทรงกระทำให้พระพักตร์ของพระองค์ส่องสว่างแก่ท่าน และทรงพระกรุณาต่อท่าน ขอพระองค์ทอดพระเนตรเหนือท่าน และประทานสันติสุขแก่ท่าน”
เขาจะเรียกขานนามของเราลงเหนือบุตรหลานอิสราเอลดังนี้แหละ และเราจะอวยพรแก่พวกเขา
บทอ่านที่ 2 
กท 4:4-7
พี่น้อง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ พระเจ้าจะทรงส่งพระบุตรของพระองค์ให้มาบังเกิดจากหญิงผู้หนึ่ง เกิ ดมาอยู่ใต้ธรรมบัญญัติ เพื่อทรงไถ่ผู้ที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ และทำให้เราได้เป็นบุตรบุญธรรม ข้อพิสูจน์ว่าพวกท่านเป็นบุตรก็คือ พระเจ้าทรงส่งพระจิตของพระบุตรลงมาในดวงใจของเรา พระจิตผู้ตรัสด้วยเสียงอันดังว่า “อับบาพ่อจ๋า” ดังนั้น ท่านจึงไม่เป็นทาสอีกต่อไป แต่เป็นบุตร ถ้าเป็นบุตรก็ย่อมเป็นทายาทตามพระประสงค์ของพระเจ้า
บทอ่านจาก พระวรสารนักบุญลูกา 
ลก 2:16-21
ขณะนั้น พวกเลี้ยงแกะพากันรีบไปยังเมืองเบธเลเฮม พบพระนางมารีย์ โยเซฟ และกุมารซึ่งนอนอ ยู่ในรางหญ้า เมื่อผู้เลี้ยงแกะได้เห็น ก็ได้เล่าเรื่องที่เขาได้ยินมาเกี่ยวกับกุมารนี้ ทุกคนที่ได้ยินต่างประหลาดใจในเรื่อง ที่คนเลี้ยงแกะได้เล่าให้ฟัง ส่วนพระนางมารีย์ได้เก็บเรื่องทั้งหมดเหล่านี้ได้ และคิดคำนึงอยู่ในใจ คนเลี้ยงแกะได้กลับไปโดยถวายพระพรและสรรเสริญพระเจ้า ในเรื่องต่างๆ ที่พวกเขาได้ยินและได้เห็น ตามที่ทูตสวรรค์ได้บอกไว้
เมื่อครบกำหนดแปดวัน ถึงเวลาที่พระกุมารจะต้องเข้าสุหนัต เขาตั้งชื่อพระองค์ว่า “เยซู” อันเป็นนาม ที่ทูตสวรรค์ได้ให้ไว้ก่อนที่พระองค์จะทรงปฏิสนธิในครรภ์ของพระมารดา
ข้อคิด ข้อรำพึง
การเปิดดวงใจของพระแม่มารีอา ในการน้อมรับแผนการณ์แห่งความรอดของพระเป็นเจ้าที่มีต่อมนุษย์ ทำให้เราทุกคนมีบุญได้รับความรักจากพระเป็นเจ้า ทางพระบุตรของพระองค์ที่ทรงมาบังเกิด มารับเอากายร่วมธรรมชาติมนุษย์กับเรา โดยทางพระเยซูเจ้าเราได้เป็นบุตรบุญธรรมของพระเป็นเจ้า เราจึงสามารถเรียกพระเป็นเจ้าเป็นพ่อของเรา และพระบิดาทรงเรียกชื่อเราแต่ละคนและอวยพรเรา

ผู้กลับใจ