05 เมษายน 2555

ผลของพระจิตเจ้า..พลังของชีวิตคริสตชน


ผลของพระจิตเจ้า..พลังของชีวิตคริสตชน



บรรยายโดย : คุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร

พิธีกรรมในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์
ความหมายของเทียนปัสกา
ความหมายและความสำคัญของกางเขน

วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์



วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์

            ตั้งแต่แรกจนปัจจุบัน  ไม่มีพิธีกรรม แต่อาจมี 2อย่าง
            ตอนเช้า ใครถูกเลือกให้รับศีลล้างฯ  (คริสตังสำรองที่เตรียมตัวนานแล้ว-ในไทยไม่มีเลยพระสังฆราชจะขับไล่ปีศาจ (สงฆ์ทำได้ถ้าได้รับอนุญาตและมอบบทข้าพเจ้าเชื่อเป็นครั้งที่ 2
            ปัจจุบัน  การปฎิรูปพิธีกรรมบอก  เสาร์ศักดิ์สิทธิ์ไม่มีพิธีกรรม  มีแต่ขับไล่ผีและมอบบทข้าพเจ้าเชื่อแก่ผู้ใหญ่  ข้อ73 บอกว่า  ในวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์นั้น  พระศาสนจักรหยุดพักหน้าคูหา  ระลึกถึงการสิ้นฯ ลงใต้บาดาล  และกลับคืนชีพ  ในการอดอาหาร  เสนอ ทำวัตรภาคบทอ่าน  ในทำวัตรเช้าร่วมกับสัตบุรุษ  มีการอ่านพระคัมภีร์  รำพึงทรมานกับสัตบรุษก็ได้  หากจะแสดงรูปพระเยซูเจ้าก็ได้  แม่พระมหาทุกข์ก็ได้
            ห้าม มีมิสซาและแต่งงาน และศีลศักดิ์สิทธิ์  เว้นแต่ศีลอภัยบาปและศีลเจิมฯ  การมอบศีลฯคนป่วยได้เฉพาะใกล้ตายจริงๆ (เสบียงต้องสอนให้สัตบุรุษเข้าใจความหมายของเสาร์ศักดิ์สิทธิ์

พิธีตื่นเฝ้าปัสกา (เสาร์ศักดิ์สิทธิ์)
            .ออกัสตินเรียกว่า "เป็นพิธีตื่นเฝ้าแห่งพิธีตื่นเฝ้าทั้งหลาย"  เพราะมีพิธีตื่นเฝ้าทุกอาทิตย์  ทุกเสาร์ ทุ่ม – เช้า  แต่เมื่อเน้นวันสำคัญวันหนึ่ง  พิธีตื่นเฝ้าจึงสมบูรณ์มากขึ้น  ในพิธีกรรมปัสกาประจำปี
            มีการเปลี่ยนแปลงมาก สมัยกลาง  ศต.9  พระสันตะปาปาอูบาโนที่ ตัดออกหมด  เพราะปัญหามาก แต่ปัจจุบันก็มีอยู่หลายตอน  (พิธีเหล่านี้เปลี่ยนไม่ได้เด็ดขาด)
            เอกสารบอก  คืนนี้ระลึกถึงพระเยซูเจ้า  ตื่นเฝ้าฉลองคืนศักดิ์สิทธิ์ที่พระเยซูเจ้าคืนชีพ  เป็นพิธีตื่นเฝ้าแห่งพิธีตื่นเฝ้าทั้งหลาย  พระศาสนจักรรอคอยการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า  และฉลองการกลับคืนชีพนั้น  ในช่วงการเข้าสู่การเป็นคริสตชน(Initiative)   และต้องทำกลางคืน  และเสร็จก่อนตะวันขึ้น
            ทำไมต้องกลางคืน  มันเปลี่ยนไม่ได้  ต้องทำหลังดวงอาทิตย์ตนประมาณ 4-5 ทุ่มเป็นต้นไป  ทำก่อนไม่ได้  เพราะการกลับคืนชีพเป็นรากฐานความเชื่อของเรา  และเข้าสู่รหัสธรรมพระเยซูโดยอาศัยศีลล้างฯและศีลกำลัง  เป็นการทรมาน ความตาย ถูกฝัง คืนชีพ และครองราชย์กับพระองค์
            เรายังระลึกการอคอยพระเยซูมาในอวสานตกาลด้วย  เป็นลักษณะของคริสตชนจริงๆ

          คำแนะนำด้านอภิบาล
            - พิธีกรรมคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์   ต้องทำโดยมีบทร้อง ทุกคนต้องเข้าใจความหมาย  ความยิ่งใหญ่ของพิธีกรรมนั้น  ในฐานะจุดสุดยอด
            - พิธีกรรมต้องแสดงออกจริงๆ  ต้องมีคนช่วยพิธีกรรม  นักร้องเพื่อพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์นั้นดำเนินไปอย่างดี
            - ถ้ามีพิธีกรรมและกลุ่มให้ทุกคนมาร่วมแสดงความเป็นหนึ่งกัน  ใครอยู่ที่ไหนต้องหาโอกาสไปร่วม 
ควรมีการประกาศและให้เข้าใจว่า ไม่ใช่กิจกรรมสุดท้ายของเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นการฉลองปัสกาแล้ว  และสำคัญที่สุดในวันปัสกา
ผู้อภิบาล ต้องให้คำสอน  ความหมาย แก่สัตบุรุษให้เข้าใจในพิธีกรรมนี้  และเพื่อดำเนินสำเร็จ ผู้ประกอบพิธีกรรมต้องเข้าใจมากขึ้น

1.      พิธีเสกไฟ
ก.      การเสกไฟ  เกิดจากสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้า  เขาต้องจุดตะเกียง จึงต้องจุดไฟ  ธรรมประเพณีนี้มาจากภาคเหนือของยุโรป  เขาจุดเพื่อต้องการจุดตะเกียงในวัด  ขณะเดียวกัน คิดถึงพระเยซูเจ้าเป็นแสงสว่างด้วย  แต่หลังๆ กองใหญ่ขึ้น  เพราะชาวบ้านเอาไปจุดที่บ้าน  เพราะอดอาหารมา วัน ไม่ได้ทำอาหาร
ข.      การประกาศสมโภชปัสกา   เกิดจาก แต่ก่อนมีการจุดตะเกียง  ก็มีการร้องเพลงเกี่ยวกับพระเยซูเจ้า  เพื่อช่วยเป็นแสงสว่างแก่เรา  ปัจจุบัน ก็ทำต่อมาแม้มีไฟฟ้าแล้ว
ในเยรูซาเล็ม  เอาไฟจากคูหา  ไปจุดตะเกียงทั่วเยรูซาเล็ม  และเอารูปแบบไปใช้ในโรม  มีประกาศพระเยซูเจ้าเป็นแสงสว่าง  ทุกคนขอบคุณพระเจ้า  น.ออกัสติน .เยโรม ได้พูดถึงเพลงประกาศปัสกาด้วย
เทียนปัสกา  ต้องเป็นเทียนขี้ผึ้งจริงๆ ไม่ใช่เทียนปลอม  ซึ่งเปลี่ยนทุกปี เพื่อระลึกถึงพระเยซูเจ้าเป็นแสงสว่างของโลก  การแห่สวด ต้องมีเทียนปัสกาอยู่หน้าทุกคน  จึงมีพระสงฆ์มายกเทียนคล้าย ชาวอิสราเอลมีเสาไฟ นำอิสราเอล  เรามีพระเยซูนำเรา
มีการประกาศว่า  Lumen  Christe  เราตอบรับว่า Deo  Gracia และจะโห่ร้องยินดีให้พระเยซูเจ้าด้วยก็ได้  มีการจุดเทียนส่งไปทุกคน  เปิดไฟ
สังฆานุกรประกาศ สมโภชปัสกา  พระสงฆ์ทำแทน  หากไม่มีสังฆานุกร แต่พระสงฆ์มีเสียงไม่ดี  อาจประกาศแทนได้ แต่บางช่วง ก็ทำไม่ได้ ต้องระวัง
ในระหว่างเพลงสมโภชปัสกา  มีบางส่วนตอบได้ด้วย  มีเพลงสง่ามาก  คริสตชนตอบรับ  แต่เตรียมก่อน  สังฆราชเปลี่ยนแปลงสมโภชปัสกาได้

2.      วจนพิธีกรรม
สำคัญมาก  ปัจจุบัน มีบท บท จากพระธรรมเก่า  แต่เราเลือกตัดได้  ตัดออกเหลือ 34 ก็ได้  แต่ ปฐก.1:5-12แต่บทบังคับคือ  อพย.  เป็นบทเพลงของอิสราเอล หลังข้ามทะเลแดง  มีฉธบ.  อสย.  อสค.  บรค.  โยแอล
ทำไมมีเยอะ  เพราะเป็นคำสอนผู้ใหญ่  ให้คริสตชนเข้าในรหัสธรรมความรอด  ตั้งแต่สร้างโลก  ประกาศกช่วยให้คำสอนพระเจ้าชัดเจน  และทุกอย่างจะมาชัดในพระเยซูเจ้าที่กลับคืนชีพ  เพราะฉะนั้น ควรทำก่อนล้างบาป
วจนพิธีกรรม จะพิเศษ  มีบทอ่าน สดดและบทภาวนา(ทุกคนยืน)  เพราะเอาบทอ่านที่อ่านแล้วมาอธิบาย  ให้เข้าใจในรหัสธรรมปัสกา  แสงสว่าง  อาศัยศีลล้างบาปและศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ  ซึ่งตัดไม่ได้ ต้องมีตลอด
เอกสารข้อ 115 พูดว่า  วจนพิธีกรรม  สำคัญในพิธีกรรมตื่นเฝ้า  เป็นเหตุการณ์สำคัญแห่งประวัติความรอด  ซึ่งคริสตชนต้องเข้าใจ  รำพึง  มีการเงียบ และบทอ่านต้องเป็นธรรมประเพณีเก่าแก่จากเหตุการณ์และพระวาจา  เริ่มแต่ประกาศก  มีส่วนในประวัติศาสตร์ความรอด  ถ้าจำเป็น เราจะตัดออกได้  บทเทศน์ บทอ่าน
ถ้าอยากให้คริสตชนเข้าใจมากขึ้น  อาจมีพิธีกรแนะนำบทอ่านนั้นได้  คณะกรรมการควรเตรียมก่อน  บทเพลง  เพลงสดุดี  นี้ดีที่สุด   แต่เอาบทอื่นก็ได้  ที่เหมาะสม  และอ่านบทจดหมาย ต่อด้วยพระวรสาร
ก่อนบทพระวรสารมี  อัลเลลูยา  เสนอ  พระสงฆ์ควรร้องนำและค่อยๆ สูงกว่าสัตบุรุษ ครั้ง และคริสตชนก็รับทั้งครั้ง
สุดท้ายมีประกาศพระวรสาร     บทเทศน์ต้องมี แต่สั้นๆ

3.      พิธีศีลล้างบาป
ประวัติศาสตร์ ศต.3-4 เพื่อเข้าใจเรื่องนี้ พระศาสนจักรได้ตั้งสถาบันอบรมเตรียมตัวรับศีลล้างบาป ซึ่งสำคัญมาก แม้ในปัจจุบันด้วย  เป็นสถาบันที่มีระบบต่อเนื่อง และช่วยคนต่างศาสนาเป็นคริสตชนอย่างเต็มที่  มีการเตรียมหลายปี  ที่สำคัญคือช่วง 40 วัน ก่อนปัสกา นั่นคือ ช่วงมหาพรต  มีการเริ่มให้รู้จักพระเยซู  มีการอธิบาย  ประวัติศาสตร์ความรอด ต่อไปจนถึงชีวิตของพระเยซูเจ้า  มีการตรวจสอบโดยพระสังฆราช ใครอยากรับศีลฯ ต้องเข้ากลุ่มนี้(คริสตังสำรอง)  มีคนเตรียม  พวกนี้อยู่มิสซาได้ตั้งแต่เริ่มต้น ถึงบทเทศน์  บางทีบทเทศน์ในวันนั้น กล่าวเฉพาะถึงพวกเขาด้วย   มีการถามความเข้าใจ และมีมอบบทข้าพเจ้าเชื่อ  และบทข้าแต่พระบิดา
พวกนี้รับศีลล้างฯ เมื่อพระสังฆราชเห็นเหมาะ  ในวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์  ในภาค ในยุโรป  พยายามมีในแบบที่สมบูรณ์  คือ มีผู้ใหญ่รับศีลล้างบาปด้วย
หลังจากวจนพิธีกรรม และบทเทศน์แล้ว ก็เริ่มภาคนี้  คนที่ถูกเลือกรับศีลล้างฯ  จะเดินแห่ไปที่ที่ล้างบาป  จะมีการอ่านบทเพลงสดุดี 42 (มีตั้งแต่ศต. 12)ด้วย
สถานที่ล้างบาป เป็นอิสระ  สังฆราชจะปกมือ ถามความเชื่อ  แล้วจุ่มลงใต้น้ำ ซึ่งหมายถึงการตาย และโผล่ขึ้นมา  ครั้งแรกแสดงความเชื่อถึงพระบิดา พระบุตร และพระจิต   บาปของเขาถูกทำลายและได้ชีวิตใหม่  จากนั้นจึงเจิมน้ำมันคริสตมา เหมือนพระเยซูเจ้า ได้เจิมเป็นกษัตริย์และสงฆ์  จากนั้นสวมเสื้อขาวและเทียน  และพร้อมจะเข้าร่วมกับคริสตชนที่สมบูรณ์  ร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณ
จากเอกสารกระทรวงพิธีกรรม  พิธีกรรมตื่นเฝ้า  ฉลองพิธีศีลล้างบาป  แสดงออกอย่างสมบูรณ์คือ
1. มีผู้รับศีลล้าง        2. ถ้าไม่มีผู้ล้างฯ ควรเสกน้ำล้างบาปสำหรับในวัดที่มีการอภิบาล  ถ้าวัดที่ไม่มีการอภิบาล(อารามฤษี,) ให้เสกน้ำด้วยสำหรับเสกสิ่งอื่นๆ
อาจมีการเสกน้ำที่พระแท่น  แล้วแห่ไปที่ศีลล้างบาป(ถ้ามีคนล้างฯ)  และรักษาไว้จนสิ้นปัสกา  ถ้าไม่มีก็มีเสกน้ำสำหรับให้สัตบุรุษ
มีบทเร้าวิงวอนด้วย  เสร็จจากบทร่ำวิงวอน  จึงมีเสกน้ำล้างบาปโดยเอาเทียนปัสกาจุ่มลงในน้ำ  หรือ ครั้ง โดยมีการเสก  หลังจากนั้นจึงมีพิธีล้างบาป  มีการยืนยันความเชื่อ  ปฏเสธปีศาจ  และโปรดศีลล้างฯ
ถ้าไม่มีผู้รับศีลฯ  ก็ให้คริสตชน รื้อฟื้นคำสัญญา  ศีลล้างฯทุกคนในวัด  หลังจากนั้นจึงพรมน้ำเสก
มีจุดเทียน(จากภาคแรก)  ไว้ในมือ  ระหว่างรื้อฟื้นคำสัญญาศีลล้างฯ  พระสงฆ์จะพรมน้ำเสกให้ทุกคน หลังยืนยัน  ควรมีบทเพลงระหว่างพรมด้วย

4.      ภาคบูชาขอบพระคุณ
ปัจจุบันไม่มีอะไรพิเศษ  บทข้าพเจ้าเชื่อไม่มี  เอกสารออกจากกระทรวงบอกว่า   ภาคนี้ถือเป็นสุดยอดของพิธีตื่นเฝ้า  เป็นการระลึกถึงรหัสธรรมปัสกา  มาประทับอยู่กับเรา  สละเทวภาพมาอยู่กับเรา  เพื่อเราคริสตชนเข้าสู่ความสมบูรณ์มากที่สุด  เป็นการสิ้นสุด  แต่สำหรับคริสตชนใหม่  ต้องร่วมด้วย วันหลังปัสกา
มีการให้ฉลองพิธีตื่นเฝ้ามากที่สุด  ไม่ต้องรีบให้ทุกจารีตแสดงความหมายดีที่สุด  
มีบทภาวนาเพื่อมวลชน  เสนอให้คริสตชนใหม่ถวายเครื่องบูชา  ให้มีส่วนร่วมโดยให้นำบทวิงวอนพิเศษ  ขณะรับศีลฯ  ให้สังฆราชดูความเหมาะสม ให้รับได้ เพศ
เพื่อพิธีกรรมผ่านไปอย่างดี  ข้อ 93 คือเสาร์ศักดิ์สิทธิ์  ถ้าไม่มีใครช่วย (ผู้อ่านฯและผู้ช่วยฯ)  ก็ไม่ต้องทำ  และให้ทุกกลุ่มในวัด   ให้มาร่วมในวัด  ไม่มีทำกลุ่มพิเศษ  พระสงฆ์ต้องเข้าใจข้อความและพิธีให้ลึกซึ้ง  เพื่ออธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจด้วย
เสนอ  ในวัด ควรมีกลุ่มพิธีกรรม  โดยเฉพาะพิธีตรีวารปัสกา  ซึ่งเป็นสุดยอดของพิธีกรรม

วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์



วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์


            จม.กระทรวงจารีต บอกว่า  ลูกแกะเราถูกฆ่าแล้ว  อาศัยการทรมาน การกลับคืนชีพ การรำพึง และกางเขน  ระลึกถึงพระศาสนจักร  ซึ่งเกิดจากสีข้างบนกางเขน  และเสนอวิงวอนเพื่อความรอดของโลก


ข้อปฏิบัติ
            - วันศุกร์อดอาหาร บังคับ   ใช้โทษบาป  ห้ามศีลศักดิ์สิทธิ์ทุกอย่าง ยกเว้นศีลอภัยบาปและศีลเจิมฯ  มีแจกศีลฯ และส่งศีลสำหรับคนป่วยได้ (ถ้ามีฝังศพ ก็ไม่มีมิสซา)
            - หลังพิธีมิสซา ไม่มีเพลง  ไม่มีดนตรี  เงียบ  ใช้เครื่องดนตรีเพื่อร้องเพลงเท่านั้น
พิธีระลึกถึงทรมาน ให้ทำเวลาบ่าย โมง หรือในเวลาเหมาะก็ได้  เพื่อสัตบุรุษมาร่วมได้  แต่ไม่เกิน ทุ่ม
พิธีประกอบด้วย 3 ภาค
1.      วจนพิธีกรรม
2.      นมัสการกางเขน
3.      รับศีลมหาสนิท
ไม่มีใครแตะต้องพิธีกรรมนี้ได้  ไม่มีเดินรูปเด็ดขาด  การเดินรูปทำได้ หลังพิธีกรรมผ่านไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง  แต่ทำในพิธีระลึกถึงมหาทรมานไม่ได้  และไม่ควรเดินรูปก่อน  อีกทั้งไม่ควรมีละครหรืออะไรๆ ก่อนพิธีกรรม
ประวัติในสมัยแรกๆ
แรกๆ พิธีกรรมมีอยู่แล้ว  มีอ่านพระวาจา ร้องเพลงสดุดี  เข้าสู่พระแท่น  บูชาเริ่มไม่มีเพลง  เงียบ  เมื่อพระสงฆ์เข้า และยืน  พระสงฆ์นอนราบ  ทุกคนคุกเขา  บนแท่นไม่มีอะไร   มีอ่านบทอ่านจากพระธรรมเก่า  และของ น.ยอห์น  มีเทศน์และบทภาวนาเพื่อมวลชนแบบพิเศษ (สง่า-เป็นไปได้ว่า  บทภาวนาเพื่อมวลชนนี้   มาจากวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์)  มีการเชิญภาวนา  แล้วเงียบสักหน่อย มีบทภาวนาของพระสงฆ์ 

ภาคหนึ่ง วจนพิธีกรรม   พิธีกรรมปัจจุบัน
1.      พระวาจาจากอิสยาห์ 52:13-จบ  และ 53:1-12 เรื่องผู้รับใช้พระยาเวห์  ผู้รับใช้ ไปสู่การทรมานแบบเงียบๆ (ซึ่งแต่ก่อนใช้บทอ่านของโฮเชยาห์)  เราอ่านเพื่อระลึกถึงพระเยซูเจ้า ถูกฆ่า  เพื่อคนเป็นอันมาก และได้รับความชอบธรรม
2.      บทอ่านที่ มาจาก ฮีบรู (แต่ก่อนเป็นอพยพ)  4,14-16 และ  5,7-9  เกี่ยวกับพระเยซูเจ้า เป็นพระสงฆ์แท้จริง  และเป็นเหตุความรอดของผู้เชื่อฟังในพระองค์
3.      บทอ่านที่ มาจาก พระวรสารน.ยอห์น  ซึ่งเป็นบทอ่านเก่าแก่
4.      บทภาวนาเพื่อมวลชน  มีแต่แรกๆ แต่ปัจจุบัน เริ่มสมัย ศต. 16  ประกอบด้วยบทภาวนา 10 บท (แต่ก่อน บท)  เป็นบทภาวนาสำหรับผู้เชื่อในพระเจ้าและผู้ไม่เชื่อ(เพื่อศาสนาอื่น
-          จม.จากกระทรวงพิธีกรรมบอก "เมื่อพระสงฆ์เข้าสู่พระแท่น  ให้เงียบหมด ไม่มีบทเพลง"  การแนะนำพิธีกรรมทำก่อนพิธีกรรม  เมื่อถึงพระแท่น กราบไหว้และหมอบราบลง  แสดงความเชื่อส่วนตัวของมนุษย์ และเสริมของพระศาสนจักร  ในการทรมานของผู้ร่วม มอบให้หมดแด่พระ  และระหว่างนี้ สัตบุรุษคุกเข่าเงียบๆแทน
-          และบทอ่านต้องอ่านหมด  สดด.  บทก่อนพระวรสาร ทำปกติ เมื่ออ่านน.ยอห์น  ควรมีร้องเพลงด้วย
-          มีเทศน์ และควรให้คริสตชนเงียบสักครู่  และอ่านบทภาวนา
          
           ภาคสอง การนมัสการกางเขน
            มาจากศต. 2  มีคนแสวงบุญในแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์  เขาบันทึกเหตุการณ์ทุกอย่างที่เห็นในที่ต่างๆ (Etervid) Egevid เขียนบรรยายว่า   ในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์  สังฆราชนั่งกลาง  สังฆานุกรและตีกลองที่มีเศษไม้กางเขน  แล้วสังฆราชจับ(ไม่ให้ใครเอาไป)  แล้วสังฆานุกรไปอยู่รอบโต๊ะ เฝ้าไม่ให้คนลักเอาไป
            เริ่ม 11 โมง แห่ไปถึงที่พระเยซูคืนชีพฯ  มีการอ่านพระวาจา  น.ยอห์น จนถึงพระเยซูเจ้าสิ้นฯ  อ่านเป็นภาษากรีก  สังฆราชอ่าน  อ่านอีกครั้งเป็นภาษาซีเรีย  ถ้าจำเป็นมีลาตินด้วย   ทีละน้อย ก็แพร่ไปทั่วพระศาสนจักรจากเยรูซาเล็ม  ตั้งแต่ศต.8  ซึ่งในโรมมีส่วนของกางเขนด้วย  มีแห่จากลาเตรัน(พระสันตะปาปาและสัตบุรุษ  เอากางเขนไปที่วัดกางเขนแห่งเยรูซาเล็ม  ถึงแล้วโชว์ไม้กางเขน  มีบทอ่านภาวนามวลชน แล้วกลับสู่วิหารอีก 
            มีการบรรยายโดยเฉพาะ  สมัยกลาง มีบทเพลงพิเศษ  แต่เราไม่รู้ว่ามีการคลุมผ้าแล้วปลดออก มีเมื่อไหร่ไม่รู้
            จม.จากกระทรวงพิธีกรรมบอก กางเขนใหญ่ ให้เห็นมีศิลปะก็ดีด้วย  พิธีกรรมมีการให้เอาผ้าออก  (พ่อเสนอ ว่า  เมื่อเริ่มภาคนมัสการนี้  ผู้ช่วยฯ เอาไม้กางเขน  จุดเทียนข้างๆ พระสงฆ์เอากางเขน เริ่มออกจากประตูวัด  ร้องเพลงขณะยกไม้กางเขน  มาถึงกลางวัด ยกกางเขนครั้งที่ 2   และครั้งที่ 3ที่พระแท่น
            แล้วมีนมัสการ   ถ้ามีคนมาก ให้นมัสการแบบรวม  ซึ่งการทำกางเขนหลายอันนั้น ไม่เหมาะสม 

          ภาคที่สาม พิธีรับศีลมหาสนิท
            ระหว่างนี้  มีบทเพลงด้วย  ก่อนศต.7 ไม่มีรับศีลฯ เพราะต้องอดอาหารแม้แต่ศีลฯ  แต่ปัจจุบันรับได้โดยเงียบ  โดยมีเด็กถือเทียนไปที่หน้าพระแท่น    มีจารีตเตรียมพระแท่นด้วย   มีบทข้าแต่พระบิดา  มีรับศีลฯ  และเก็บศีลฯออกนอกวัด
            เสร็จแล้ว เก็บหมด หาที่เหมาะสมให้สัตบุรุษ  ภาวนากับไม้กางเขน  หลังจากนี้มีกิจศรัทธาส่วนตัวได้  มีการแสดง  เดินรูป ระลึกถึงการทรมาน  แต่การกำหนดกิจศรัทธาอื่น  ควรมาหลังจากนี้

วันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์

วันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์




ประวัติศาสตร์จนถึง ศต.4 พระศาสนจักรในโรม  วันพฤหัสฯ เป็นวันมหาพรตสิ้นสุด  ไม่มีมิสซาคิดถึงงานเลี้ยง  แต่ตอนเช้ามีพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์  เรื่องให้ผู้เป็นคนบาป ร่วมกันวันพฤหัสฯเช้า  มีการโปรดบาปพิเศษ แก่คนบาปเหล่านี้
ในอัฟริกา และเยรูซาเล็ม  มีพิธีกรรมถวายมิสซาเช้าและเย็น   คิดถึงการตั้งศีลบูชาขอบพระคุณ  และคิดถึงงานเลี้ยง  มีการคิดถึงหลายอย่างเช่น วันแห่งงานเลี้ยงสุดท้าย  วันแห่งการทรยศของยูดาส ฯลฯ
ในศต.4-5  พวกแสวงบุญไปเยรูซาเล็ม  มาที่มิสซังของตนเอง เอามิสซาตอนเย็นมาแพร่ที่ยุโรป  ในพระศาสนจักรโรมด้วย   ที่สุด ศต.7  มีมิสซา ครั้ง คือ 1. มิสซาอภัยคนบาป  2. มิสซาเสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์  3. มิสซาเย็น คิดถึงการตั้งศีลบูชาขอบพระคุณ
ปัจจุบัน มี มิสซา คือ เช้าเรียกว่า  มิสซาเสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์  และมิสซาเย็น คิดถึงงานเลี้ยงของพระคริสต์



    1.      การเฉลิมฉลองพิธีการบูชาขอบพระคุณ

มิสซาเสกน้ำมันวันพฤหัสฯเช้า  เราไม่รู้ประวัติแน่นอน  แต่ปัจจุบันถือว่า มีอีกความหมายหนึ่งคือ ฉลองสังฆภาพ  พระสังฆราชประชาชนและสงฆ์ทุกองค์มาร่วมในสังฆมณฑล  ซึ่ง VAT II ให้ระลึกถึงคำสัญญาของผู้รับศีลบวชด้วย  พระเยซูเจ้าให้ศิษย์มีอำนาจประกอบมิสซา  และเรียกร้องให้คริสตชนมาร่วมด้วย  เพื่อคิดถึงหน้าที่สงฆ์ของตนเอง

        ก.      มิสซาเสกน้ำมัน
เอกสารเวียนบอก  มิสซาเสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์  พระสังฆราชและพระสงฆ์เสกน้ำมันคริสตมา แสดงความเป็นหนึ่งในสังฆภาพ และศาสนบริกรของพระคริสตเจ้า  เพราะฉะนั้น จำเป็นที่สงฆ์ทุกองค์ มาร่วมฉลองกันทั้ง  สังฆมณฑลในฐานะเป็นพยานและผู้ร่วมมือของพระสังฆราช   ต้องพยายามชักชวนคริสตชนมาร่วมด้วย  และตามธรรมประเพณี  เสกน้ำมันต้องมีแห่งเดียวในมิสซัง
เสนอ ให้มีพิธีกรรมต้อนรับน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ในแต่ละวัดด้วย ที่มาถึงวัด  เพื่อคริสตชนเข้าใจความหมายด้วย(จม.เวียน 35-36)

        ข.      มิสซาระลึกถึง "อาหารค่ำของพระเยซูเจ้า"
ในมิสซาเย็น  ต้องทำมิสซาในเย็นพฤหัสฯศักดิ์สิทธิ์  เป็นการเริ่มตรีวารปัสกา  คิดถึงงานเลี้ยงครั้งสุดท้าย การถูกทรยศ  เป็นเวลาที่พระเยซูรักศิษย์  มอบพระกายให้ศิษย์ทำต่อ   ผู้สืบตำแหน่งสังฆภาพของพระองค์(45)คิดถึง อย่างคือ            
          1. การตั้งศีลบูชาขอบพระคุณ       
          2.การตั้งศีลบวช             3. และให้ศิษย์รักกันและกัน เหมือนพระเยซูเจ้ารักเรา
      หลังปฏิรูป  มีการเปลี่ยนแปลงคือ  บทอ่าน
บทอ่าน จาก  อพย. 12:1-8, 11-14    การข้ามทะเลแดงของชาวฮีบรู
บทอ่าน 2  1 คร. 11:23-26  และบทอ่านที่ 3  จากพระวรสาร น.ยอห์น 13:1-15   ตอนล้างเท้า

      บทเริ่มขอบพระคุณ  แต่ก่อนพูดถึงไม้กางเขน  แต่เปลี่ยนเป็นการพูดถึง สังฆภาพ ของผู้เป็นสงฆ์
น·เสนอ ควรมีมิสซาเย็น  คริสตชนควรมาร่วมและสงฆ์ทุกคน ควรมาในวันนั้นตามธรรมประเพณีเก่าแก่ของพระศาสนจักร  ห้ามทำมิสซาส่วนตัว
ก่อนเริ่มมิสซา  ไม่มีอะไรในตู้ศีลฯ   ต้องเปิดตู้ศีลฯ  ศีลฯในมิสซาต้องให้เสก เท่า  สำหรับวันนี้และวันศุกร์ ในภาคสิริฯ  มีระฆัง  หลังจากนั้นไม่มีอีกจนกระทั่งพิธีตื่นเฝ้าในคืนวันเสาร์
สงฆ์ ควรถวายมิสซาอย่างดีที่สุด  โดยเฉพาะเมื่อถึงตอนเล่าเรื่อง  พิธีบูชาขอบพระคุณ (ควรสวดอย่างดี ให้สัตบุรุาฟังด้วย)  ต้องให้ทุกคนตระหนักถึงสิ่งที่กำลังนึกถึง  ไม่ต้องรีบ

 * ข้อเสนอแนะ  เมื่อแห่ถวายเครื่องบูชา  เป็นช่วงดีสำหรับให้สิ่งที่เราเก็บไว้ช่วยคนจน   คนป่วยในบ้านควรมีสังฆานุกรแจกศีลฯ  เก็บศีลฯ ในที่เหมาะสม  สำหรับคนป่วยด้วย


    2.      พิธีล้างเท้า

มีในศต. 5 ในโรม และค่อยกระจายไป  ผู้ที่ทำตลอดคือพวกฤษี  อธิการจะล้างเท้า  มันแสดงสิ่งที่พระเยซูเจ้าได้สอน  ทำได้ระหว่างอ่านบทอ่านหรือเทศน์  เป็นการแสดงความรักและการรับใช้ ของพระเยซูเจ้า  ซึ่งจำเป็นต้องอธิบายให้คริสตชนเข้าใจ


    3.      สถานที่พักศีลฯ

คือวันศุกร์ไม่มีมิสซา  จึงจำเป็นต้องรักษาศีลฯนั้นไว้  เมื่อมีการเก็บศีลฯ  จึงมีพิธีเก็บไว้ในที่พิเศษ  ในสมัยกลาง มีความคิดว่า เป็นพระเยซูเจ้าอยู่ในศีลฯ    มีการเดินแห่ให้เกียรติศีลฯ  ถวายกำยานและเก็บไว้ในตู้ศีลฯ ที่เตรียมแล้ว  ทุกอย่างจบ จะไม่มีสวด เพลง  พอเก็บศีลฯในตู้ศีลฯแล้ว  คริสตชนกไปเฝ้าตู้ศีลได้  จนถึงเที่ยงคืน  จึงเอาไปไว้ในที่ต่างหาก  ในตู้ศีลฯปิด ไม่ต้องแสดง  ช่วงเฝ้าศีลฯ  อาจมีอ่านบทพระวรสารยอห์นบทที่ 13-17 แต่ถ้าเที่ยงคืนไป ก็เป็นพิธีส่วนตัว

จารีตการเอาผ้าและทุกอย่างบนแท่นออกหมด(57) คลุมกางเขนด้วยผ้าแดงหรือม่วง  ห้ามจุดเทียนทุกอย่างในวัด  ให้รูปนักบุญ

ผู้กลับใจ