05 เมษายน 2555

วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์



วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์


            จม.กระทรวงจารีต บอกว่า  ลูกแกะเราถูกฆ่าแล้ว  อาศัยการทรมาน การกลับคืนชีพ การรำพึง และกางเขน  ระลึกถึงพระศาสนจักร  ซึ่งเกิดจากสีข้างบนกางเขน  และเสนอวิงวอนเพื่อความรอดของโลก


ข้อปฏิบัติ
            - วันศุกร์อดอาหาร บังคับ   ใช้โทษบาป  ห้ามศีลศักดิ์สิทธิ์ทุกอย่าง ยกเว้นศีลอภัยบาปและศีลเจิมฯ  มีแจกศีลฯ และส่งศีลสำหรับคนป่วยได้ (ถ้ามีฝังศพ ก็ไม่มีมิสซา)
            - หลังพิธีมิสซา ไม่มีเพลง  ไม่มีดนตรี  เงียบ  ใช้เครื่องดนตรีเพื่อร้องเพลงเท่านั้น
พิธีระลึกถึงทรมาน ให้ทำเวลาบ่าย โมง หรือในเวลาเหมาะก็ได้  เพื่อสัตบุรุษมาร่วมได้  แต่ไม่เกิน ทุ่ม
พิธีประกอบด้วย 3 ภาค
1.      วจนพิธีกรรม
2.      นมัสการกางเขน
3.      รับศีลมหาสนิท
ไม่มีใครแตะต้องพิธีกรรมนี้ได้  ไม่มีเดินรูปเด็ดขาด  การเดินรูปทำได้ หลังพิธีกรรมผ่านไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง  แต่ทำในพิธีระลึกถึงมหาทรมานไม่ได้  และไม่ควรเดินรูปก่อน  อีกทั้งไม่ควรมีละครหรืออะไรๆ ก่อนพิธีกรรม
ประวัติในสมัยแรกๆ
แรกๆ พิธีกรรมมีอยู่แล้ว  มีอ่านพระวาจา ร้องเพลงสดุดี  เข้าสู่พระแท่น  บูชาเริ่มไม่มีเพลง  เงียบ  เมื่อพระสงฆ์เข้า และยืน  พระสงฆ์นอนราบ  ทุกคนคุกเขา  บนแท่นไม่มีอะไร   มีอ่านบทอ่านจากพระธรรมเก่า  และของ น.ยอห์น  มีเทศน์และบทภาวนาเพื่อมวลชนแบบพิเศษ (สง่า-เป็นไปได้ว่า  บทภาวนาเพื่อมวลชนนี้   มาจากวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์)  มีการเชิญภาวนา  แล้วเงียบสักหน่อย มีบทภาวนาของพระสงฆ์ 

ภาคหนึ่ง วจนพิธีกรรม   พิธีกรรมปัจจุบัน
1.      พระวาจาจากอิสยาห์ 52:13-จบ  และ 53:1-12 เรื่องผู้รับใช้พระยาเวห์  ผู้รับใช้ ไปสู่การทรมานแบบเงียบๆ (ซึ่งแต่ก่อนใช้บทอ่านของโฮเชยาห์)  เราอ่านเพื่อระลึกถึงพระเยซูเจ้า ถูกฆ่า  เพื่อคนเป็นอันมาก และได้รับความชอบธรรม
2.      บทอ่านที่ มาจาก ฮีบรู (แต่ก่อนเป็นอพยพ)  4,14-16 และ  5,7-9  เกี่ยวกับพระเยซูเจ้า เป็นพระสงฆ์แท้จริง  และเป็นเหตุความรอดของผู้เชื่อฟังในพระองค์
3.      บทอ่านที่ มาจาก พระวรสารน.ยอห์น  ซึ่งเป็นบทอ่านเก่าแก่
4.      บทภาวนาเพื่อมวลชน  มีแต่แรกๆ แต่ปัจจุบัน เริ่มสมัย ศต. 16  ประกอบด้วยบทภาวนา 10 บท (แต่ก่อน บท)  เป็นบทภาวนาสำหรับผู้เชื่อในพระเจ้าและผู้ไม่เชื่อ(เพื่อศาสนาอื่น
-          จม.จากกระทรวงพิธีกรรมบอก "เมื่อพระสงฆ์เข้าสู่พระแท่น  ให้เงียบหมด ไม่มีบทเพลง"  การแนะนำพิธีกรรมทำก่อนพิธีกรรม  เมื่อถึงพระแท่น กราบไหว้และหมอบราบลง  แสดงความเชื่อส่วนตัวของมนุษย์ และเสริมของพระศาสนจักร  ในการทรมานของผู้ร่วม มอบให้หมดแด่พระ  และระหว่างนี้ สัตบุรุษคุกเข่าเงียบๆแทน
-          และบทอ่านต้องอ่านหมด  สดด.  บทก่อนพระวรสาร ทำปกติ เมื่ออ่านน.ยอห์น  ควรมีร้องเพลงด้วย
-          มีเทศน์ และควรให้คริสตชนเงียบสักครู่  และอ่านบทภาวนา
          
           ภาคสอง การนมัสการกางเขน
            มาจากศต. 2  มีคนแสวงบุญในแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์  เขาบันทึกเหตุการณ์ทุกอย่างที่เห็นในที่ต่างๆ (Etervid) Egevid เขียนบรรยายว่า   ในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์  สังฆราชนั่งกลาง  สังฆานุกรและตีกลองที่มีเศษไม้กางเขน  แล้วสังฆราชจับ(ไม่ให้ใครเอาไป)  แล้วสังฆานุกรไปอยู่รอบโต๊ะ เฝ้าไม่ให้คนลักเอาไป
            เริ่ม 11 โมง แห่ไปถึงที่พระเยซูคืนชีพฯ  มีการอ่านพระวาจา  น.ยอห์น จนถึงพระเยซูเจ้าสิ้นฯ  อ่านเป็นภาษากรีก  สังฆราชอ่าน  อ่านอีกครั้งเป็นภาษาซีเรีย  ถ้าจำเป็นมีลาตินด้วย   ทีละน้อย ก็แพร่ไปทั่วพระศาสนจักรจากเยรูซาเล็ม  ตั้งแต่ศต.8  ซึ่งในโรมมีส่วนของกางเขนด้วย  มีแห่จากลาเตรัน(พระสันตะปาปาและสัตบุรุษ  เอากางเขนไปที่วัดกางเขนแห่งเยรูซาเล็ม  ถึงแล้วโชว์ไม้กางเขน  มีบทอ่านภาวนามวลชน แล้วกลับสู่วิหารอีก 
            มีการบรรยายโดยเฉพาะ  สมัยกลาง มีบทเพลงพิเศษ  แต่เราไม่รู้ว่ามีการคลุมผ้าแล้วปลดออก มีเมื่อไหร่ไม่รู้
            จม.จากกระทรวงพิธีกรรมบอก กางเขนใหญ่ ให้เห็นมีศิลปะก็ดีด้วย  พิธีกรรมมีการให้เอาผ้าออก  (พ่อเสนอ ว่า  เมื่อเริ่มภาคนมัสการนี้  ผู้ช่วยฯ เอาไม้กางเขน  จุดเทียนข้างๆ พระสงฆ์เอากางเขน เริ่มออกจากประตูวัด  ร้องเพลงขณะยกไม้กางเขน  มาถึงกลางวัด ยกกางเขนครั้งที่ 2   และครั้งที่ 3ที่พระแท่น
            แล้วมีนมัสการ   ถ้ามีคนมาก ให้นมัสการแบบรวม  ซึ่งการทำกางเขนหลายอันนั้น ไม่เหมาะสม 

          ภาคที่สาม พิธีรับศีลมหาสนิท
            ระหว่างนี้  มีบทเพลงด้วย  ก่อนศต.7 ไม่มีรับศีลฯ เพราะต้องอดอาหารแม้แต่ศีลฯ  แต่ปัจจุบันรับได้โดยเงียบ  โดยมีเด็กถือเทียนไปที่หน้าพระแท่น    มีจารีตเตรียมพระแท่นด้วย   มีบทข้าแต่พระบิดา  มีรับศีลฯ  และเก็บศีลฯออกนอกวัด
            เสร็จแล้ว เก็บหมด หาที่เหมาะสมให้สัตบุรุษ  ภาวนากับไม้กางเขน  หลังจากนี้มีกิจศรัทธาส่วนตัวได้  มีการแสดง  เดินรูป ระลึกถึงการทรมาน  แต่การกำหนดกิจศรัทธาอื่น  ควรมาหลังจากนี้

ผู้กลับใจ