05 มีนาคม 2555

พระศาสนจักรคาทอลิก


อำนาจของพระสันตะปาปา มาจาก  พระดำรัสของ  พระเยซูคริสต์  ที่กล่าวว่า

ท่านเป็นศิลา บนศิลานี้ เราจะสร้างพระศาสนจักร 
คาทอลิก (Catholic) ศัพท์กรีก Katholicos แปลว่า สากล หมายถึงพระศาสนจักรที่พระเยซูคริสต์ ทรงตั้งขึ้นนั้นเป็นสากล 

ศัพท์คำนี้ นักบุญอิญาซีโอแห่งอันทิโอก ในศตวรรษที่ 2 เป็นผู้นำมาใช้เป็นคนแรก มีความหมาย 2 ประการ คือ
  •    1.  สากลในแง่ภูมิศาสตร์   2.  สากลในแง่ความเชื่อและความจริงแท้
    นักบุญเปโตร พระสันตะปาปา องค์แรก
  • ปัจจุบัน Catholic ใช้เป็นชื่อเรียก คริสตจักรที่ขึ้นกับโรม ว่า พระศาสนจักรคาทอลิก และ หลังการสังคายนาวาติกันที่ 2 พระศาสนจักรคาทอลิก ส่งเสริมศาสนสัมพันธ์ กับศาสนาต่าง ๆ เพราะถือว่าคริสตชนในนิกายต่าง ๆ (เช่น โปรแตสตันท์, ออร์โทด็อกซ์) ล้วนสังกัดอยู่ในคริสตจักรสากลของพระเยซูคริสต์ แม้จะไม่เรียกตัวเองว่า คาทอลิก แต่ความเชื่อและคำสั่งสอนนั้น มีธรรมชาติเป็นคาทอลิก หรือสากล เพราะมาจากศูนย์รวมแหล่งเดียวกัน คือ พระคริสต์ ซึ่งเป็นพระผู้ไถ่มวลมนุษย์ทั้งมวล
    พระศาสนจักรคาทอลิก มี พระสันตะปาปา (POPE) เป็นประมุขสูงสุด
      โดยมีคณะ พระคาร์ดินัล ทำหน้าที่ เป็นคณะที่ปรึกษา ในการปกครองพระศาสนจักร
    มี  มุขนายก หรือ พระสังฆราช ปกครองดูแลในเขต  สังฆมณฑล
    ในสังฆมณฑล มีโบสถ์ซึ่งคริสต์ศาสนิกชน ใช้ประกอบศาสนกิจต่าง ๆ มี  บาทหลวงหรือพระสงฆ์ เป็นผู้ปกครองดูแล  
     

    สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม 1984 (2527)พระสันตะปาปา (POPE) เป็นประมุขสูงสุดของพระศาสนจักร  (คริสตจักรโรมันคาทอลิก)
    อำนาจของพระสันตะปาปา มาจาก  พระดำรัสของ  พระเยซูคริสต์
    ที่กล่าวว่า   1. ท่านเป็นศิลา บนศิลานี้ เราจะสร้างพระศาสนจักร (มธ.16:18)    2. จงเลี้ยงแกะของเรา (ยน.21:17)
    พระสันตะปาปา มีอำนาจ 2 ประการ  คือ  อำนาจในการสอน   และ  อำนาจในการปกครอง

      พระสันตะปาปาองค์ปัจจุบัน ยอห์น ปอลที่ 2
      การสืบทอดตำแหน่งของพระสันตะปาปา
      ภายใน 15 - 18 วันหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระสันตะปาปาองค์ก่อน บรรดา พระคาร์ดินัล ทั่วโลก   จะเปิดการประชุมลับ ในพระวิหารซิสติน กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อเลือกพระสันตะปาปาองค์ใหม่โดยการเลือกตั้งจะใช้วิธีลงคะแนนลับ (Conclave) 


      พระคาร์ดินัล ไมเคิลมีชัย กิจบุญชู
      คาร์ดินัล (Cardinal)  เป็นสมณศักดิ์ชั้นสูง รองจาก พระสันตะปาปา
      ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพระสันตะปาปา ในการปกครองพระศาสนจักรสากล ตำแหน่งนี้ อาจเทียบเท่ากับพระชั้นพระราชาคณะ ในพุทธศาสนาหรือวุฒิสมาชิกในทางโลก สมัยก่อนตำแหน่งคาร์ดินัล มักเป็นฆราวาส นับตั้งแต่ตรากฎหมายพระศาสนจักรฉบับล่าสุด(1917-1983) พระสงฆ์และพระสังฆราชเท่านั้น มีสิทธิ์เป็นพระคาร์ดินัลได้ หน้าที่พิเศษอย่างหนึ่งของพระคาร์ดินัล คือ เข้าร่วมประชุมลับเพื่อเลือกพระสันตะปาปา องค์ใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างลง และตนเองก็มีสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาได้
      พระคาร์ดินัล อาจมีตำแหน่ง มุขนายก หรือ พระสังฆราช เป็นหัวหน้าปกครอง  คณะบาทหลวง นักบวชชาย-หญิง และ คริสต์ศาสนิกชน ในเขต  สังฆมณฑล ที่ท่านเป็นผู้ปกครองด้วย 

      พระสังฆราช ยออากิมพเยาว์ มณีทรัพย์ ขณะเฝ้าพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2
      พระสังฆราช (ฺBishop) หรือ มุขนายก
      พระสังฆราช แปลว่า ตำแหน่งผู้เป็นใหญ่ในสังฆมณฑล ซึ่งเป็นคำที่ใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา หมายถึง ประมุขคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก มุขนายก หรือ พระสังฆราช เป็นผู้สืบตำแหน่งจาก อัครธรรมฑูต(ศิษย์ 12 คน ซึ่งติดตามพระเยซูเจ้าอย่างใกล้ชิดในสมัยที่พระองค์ยังคงดำรงชีพ เป็นมนุษย์เมื่อ 2000 ปีมาแล้ว)
      มุขนายกหรือพระสังฆราช เป็นหัวหน้าปกครอง คณะบาทหลวง นักบวชชาย-หญิง และคริสต์ศาสนิกชน ในเขตสังฆมณฑล
      • สังฆมณฑล คือ เขตการปกครองของพระสังฆราชในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 10 เขต(สังฆมณฑล)
      • มุขนายก หรือ พระสังฆราช จะต้องเป็นพระสงฆ์ หรือบาทหลวงมาก่อน และต่อมาได้รับการแต่งตั้ง จากสมเด็จพระสันตะปาปา
        โดยได้รับการอภิเษกขึ้นสู่ตำแหน่ง พระสังฆราช ซึ่งเป็นศีลบวชขั้นสูงสุด (ศีลบรรพชา)
      • ศีลบวชในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก มี 3 ขั้นคือ ขั้นสังฆานุกร(Deacon) ขั้นพระสงฆ์(Priest) ขั้นพระสังฆราช(Bishop)
          พระสังฆราช   เป็นสรรพนามที่ใช้เรียก ประมุขสังฆมณฑล ซึ่งเป็นเขตการปกครองในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก
          พระคุณเจ้า     เป็นสรรพนามที่ ชาวคริสต์ใช้เรียก พระสังฆราช หรือมุขนายก
          มุขนายก         เป็นสรรพนามที่ใช้เรียก พระสังฆราชในทางราชการ  
    เขตปกครองของ พระสังฆราช (ฺBishop) หรือ มุขนายกคริสต์จักรโรมันคาทอลิก ในประเทศไทย แบ่งเป็น 10 สังฆมณฑล ได้แก่

    สังฆมณฑลกรุงเทพฯ              มีพระคุณเจ้า ไมเคิล มีชัย กิจบุญชู    เป็นพระสังฆราช และ มีตำแหน่งเป็น พระคาร์ดินัล ด้วย
    สังฆมณฑลราชบุรี                  มีพระคุณเจ้า ยอห์นบอสโก มนัส จวบสมัย    เป็นพระสังฆราช
    สังฆมณฑลจันทบุรี                 มีพระคุณเจ้า ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต   เป็นพระสังฆราช
    สังฆมณฑลเชียงใหม่              มีพระคุณเจ้า ยอแซฟ สังวาล ศุระศรางค์   เป็นพระสังฆราช
    สังฆมณฑลนครสวรรค์           มีพระคุณเจ้า หลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์   เป็นพระสังฆราช
    สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี         มีพระคุณเจ้า ไมเคิล ประพนธ์ ชัยเจริญ   เป็นพระสังฆราช
    สังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง   มีพระคุณเจ้า ลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน   เป็นพระสังฆราช
    สังฆมณฑลอุบลราชธานี          มีพระคุณเจ้า มีคาแอล บุญเลื่อน หมั้นทรัพย์   เป็นพระสังฆราช
    สังฆมณฑลอุดรธานี                มีพระคุณเจ้า ยอร์ช ยอด พิมพิสาร   เป็นพระสังฆราช
    และสังฆมณฑลนครราชสีมา    มีพระคุณเจ้า ยออากิม พเยาว์ มณีทรัพย์   เป็นพระสังฆราช
    มุขนายก คริสต์จักรโรมันคาทอลิก ในประเทศไทย 
    สังฆมณฑลนครราชสีมามีอาณาเขตครอบคลุม 3 จังหวัด คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และ ชัยภูมิ
    พระสังฆราช สังฆมณฑลนครราชสีมา ฯ พณ ฯ ยออากิม พเยาว์ มณีทรัพย์
    • เกิด     18 กรกฎาคม พ.ศ.2472 ที่จังหวัดจันทบุรี
    • การศึกษา
      • ระดับประถมศึกษา โรงเรียนมารียาลัย จันทบุรี(สตรีมารดาพิทักษ์ในปัจจุบัน)
      • มัธยมศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก และ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จันทบุรี
      • ปริญญาตรีและปริญญาโท ทางปรัชญาและเทวศาสตร์ วิทยาลัยปรอปากันดา ฟีเด กรุงโรมประเทศอิตาลี
      • ศึกษาต่อที่สถาบัน ลูแมน วีเต กรุงบรัสเซล เบลเยี่ยม
    • รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 (เมื่ออายุ 29 ปี)
      • เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหัวไผ่ เป็นเวลา 3 ปี
      • เป็นเจ้าอาวาสวัดเซนต์ปอล แปดริ้ว 3 ปี
      • เป็นผู้ดูแลสถานอบรมเยาวชนที่หัวไผ่ 7 ปี
      • เป็นผู้อำนวยการศูนย์แพร่ธรรมของสังฆมณฑลที่ศรีราชา 5 ปี
      • เป็นผู้อำนวยการศูนย์คำสอนแห่งชาติ 1 สมัย
      • เป็นผู้อำนวยการสภาสงฆ์สังฆมณฑลจันทบุรี 2 สมัย
      • เป็นอุปสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี
    ศาสนาต่าง ๆ จะมีบุคคลกลุ่มหนึ่ง ทำหน้าที่ เป็นสงฆ์หรือ พระ เป็นคนกลางระหว่างมนุษย์ กับพระเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรม และสอนศาสนา
                    คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก มีบุรุษบางคน ที่สมัครใจเข้ารับการบวชเป็นพระสงฆ์ (หรือบาทหลวง) ทำหน้าที่เป็นผู้นำสัตบุรุษ  คือคริสต์ศาสนิกชนในการประกอบศาสนพิธี เทศน์สอน อบรมศีลธรรม จริยธรรม ในฐานะเป็นเจ้าอาวาสประจำโบสถ์ ดูแลรับผิดชอบสถาบันการศึกษา ดูแลรับผิดชอบโรงพยาบาล และสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ ฯลฯ  ตามที่ ประมุขสังฆมณฑลฯจะมอบหมาย และเมื่อได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์ (บาทหลวง)แล้ว ต้องถือโสดตลอดชีวิต
      ศีลบวช ในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก มี 3 ขั้น คือ ขั้นสังฆานุกร (Deacon) ขั้นพระสงฆ์ (Priest) ขั้นพระสังฆราช (Bishop)
    • พระสงฆ์  เป็นสรรพนาม ที่ใช้เรียก ชายที่เข้ารับศีลบวช (ศีลบรรพชา)แล้ว ในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก
    • คุณพ่อ      เป็นสรรพนาม ที่ ศาสนิกชนชาวคริสต์ ใช้เรียก พระสงฆ์หรือบาทหลวง
    • บาทหลวง เป็นสรรพนามทางการ ที่ใช้เรียก พระสงฆ์ของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก  
    กางเขน เป็น เครื่องหมายแห่งความรัก
    ประกอบด้วยไม้ 2 ชิ้น ไขว้กัน ในลักษณะ ไม้ตั้งและไม้นอน
  • ไม้ตั้ง หมายถึง ความรักของพระเป็นเจ้าที่ลงมายังมนุษย์ และความรักของมนุษย์ขึ้นไปหาพระเจ้า
  • ไม้นอน หมายถึง ความรักของมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกัน

  • กางเขน ค.ศ.1999 ปีพระบิดา
      สัญญลักษณ์ของการสมโภช ปี ค.ศ.1999  ปีปิติมหาการุญ คือ รูปกางเขน   มีรายละเอียด ดังนี้
    • ตรงกลาง เป็นรูปพระบิดา มีหนวดขาว หมายถึง เป็นผู้มีอายุยืน มือซ้ายมีอักษรอัลฟา(เริ่มต้น) และโอเมก้า(อวสาน-สุดท้าย)มาจากภาษากรีก
    • ใต้สี่เหลี่ยม เป็นภาษาลาติน Pater noster qui es in coelis แปลว่า ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระองค์สถิตในสวรรค์
    • ด้านบนของกางเขน เป็นรูปพระบิดาทรงสร้างโลกและมนุษย์ใน 6 วัน (ปฐก.1-2)
    • ด้านขวาของกางเขน เป็นรูปมหาบุรุษอับราฮัม กำลังถวายอิสอัค แด่พระบิดา แต่พระเป็นเจ้าให้รักษาชีวิตอิสอัคเอาไว้ (ปฐก. 9:22)
    • ด้านซ้ายของกางเขนเป็นเรื่องของบิดาผู้ใจดี ที่ลูกชายผู้หลงผิดกลับมาขอโทษ (ลก.15:11-32)
    • ด้านล่างของกางเขน เป็นรูปพระบิดา พระเยซูคริสต์เจ้า ถูกตรึงกางเขน โดยมี  พระแม่มารีย์ พระมารดา นักบุญยอห์น สตรีใจศรัทธา
      และนายร้อยอยู่ที่เชิงกางเขน (ยน.19:25-27, มธ.27:55-56, มก.15:39-41)

       
      เยซู (Jesus) หรือ (Joshua)   ภาษาฮีบรู แปลว่า พระยาเวห์ทรงเป็นความรอด
      ชื่อนี้เป็นที่นิยมกันมากในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ เป็นชื่อที่อัครเทวฑูตกาเบรียลมอบให้
      เมื่อถือสารมาแจ้งแก่พระนางมารีย์ (ลก.1:31)   มีความหมายว่า พระผู้ช่วยให้รอด  ตามที่เทวฑูตแจ้งแก่นักบุญยอแซฟในความฝัน (ลก.1.21)

      ชีวประวัติ พระเยซู ตามพระคัมภีร์
    • ทำไมจึงผสมน้ำลงในเหล้าองุ่น ( เปิดโลกคำสอน )


                 พี่น้องหลายท่าน อาจจะสงสัยว่าทำไมตอนเตรียมเครื่องบูชาในมิสซา พระสงฆ์จะหยดน้ำลงไป 2-3 หยด ผสมกับเหล้าองุ่นในถ้วยกาลิกส์ การทำเช่นนี้มีความหมายและความเป็นมาอย่างไร? พ่อขอตอบคำถามนี้ ดังนี้ครับ
                 เราพบเอกสารที่พูดถึงเรื่องนี้ ตั้งแต่ ค.ศ. 155 ในจดหมายที่นักบุญยุสติน มรณสักขี เขียนบรรยายพิธีมิสซา ถึงจักรพรรดิอันโตนิอุส ปิอุส ดังนี้ “…ต่อจากนั้นมีผู้นำขนมปังและถ้วยใส่เหล้าองุ่นผสมน้ำมามอบให้กับประธานในพิธี”
                 ที่มีการผสมน้ำลงในเหล้าองุ่นในพิธีมิสซา  อาจจะเป็นเพราะนักพิธีกรรมหลายท่านเชื่อว่า ในอาหารค่ำมื้อ สุดท้ายพระเยซูเจ้าทรงผสมน้ำลงในเหล้าองุ่น และพระศาสนจักรก็ยังยึดธรรมเนียมปฏิบัติอันนี้
                 เราพบความหมายของการกระทำนี้ในบทภาวนาของพระสงฆ์ขณะผสมน้ำลงในเหล้าองุ่น “ดั่งน้ำและเหล้าองุ่นที่ผสมเข้าด้วยกัน  อันเป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์นี้  ขอพระองค์โปรดให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้ร่วมในพระเทวภาพของพระคริสตเจ้า ผู้ทรงถ่อมองค์มารับสภาพมนุษย์”
                 น้ำเป็นเครื่องหมายถึงธรรมชาติมนุษย์ของพระเยซูเจ้าและของเรา ส่วนเหล้าองุ่นหมายถึงสภาวะพระเจ้า ของพระองค์   เหมือนดังสภาวะพระเจ้าและสภาวะมนุษย์ที่รวมเป็นหนึ่งเดียวกันเมื่อพระเยซูเจ้าทรงรับเอากาย
      เราจึงวอนขอให้สภาพมนุษย์ของเรามีส่วนร่วมในสภาวะพระเจ้าของพระองค์ด้วย   ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็โดย
      อาศัยพระหรรษทาน  ดังที่นักบุญเปโตรได้กล่าวในจดหมายของท่านว่า 
      “พระองค์จึงประทานพระพรยิ่งใหญ่ล้ำ ค่าให้เราตามที่ทรงสัญญาไว้   เพื่อท่านทั้งหลายจะได้หลุดพ้นจากความเสื่อมที่มาจากราคะตัณหาในโลก  เข้า
      มามีส่วนร่วมในพระธรรมชาติของพระเจ้า”
       (2ปต 1:4)
                 นักบุญ ยอห์น คริสซอสโตม ได้ให้ความหมายของการผสมกันของเหล้าองุ่นและน้ำว่า เป็นเครื่องหมาย ถึงพระโลหิตและน้ำที่ไหลออกมาจากสีข้างของพระเยซูเจ้า เมื่อทรงถูกแทงด้วยหอก หลังจากที่ได้ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนแล้ว

      ผู้กลับใจ