24 เมษายน 2555

“ เราจะถาม.. เจ้าจงตอบ”



zwani.com myspace graphic comments zwani.com myspace graphic comments

 เราจะถาม.. เจ้าจงตอบ        มอนิก..เรียบเรียง
            เมื่อพระเจ้าทรงต้องการที่จะตรัสถามอะไรกับเรา พระองค์จะไม่ตรัสถามเราถึงระดับสติปัญญาของเรา พระองค์จะไม่ทรงมองดูที่ความสง่างามของเรา พระองค์จะไม่ตรัสถามถึงระดับการศึกษาของเรา แต่การถามของพระองค์ที่มาถึงเรานั้น จะเป็นการถามที่มุ่งที่จะทดสอบจิตใจของเรามากกว่า
            ดังนั้น คำถามของพระองค์จึงเป็นคำถามที่สั้นๆ ง่ายๆ ตรงประเด็น และเจาะลึกถึงส่วนที่เร้นลับที่สุดของชีวิตเรา ทั้งนี้เพื่อช่วยเราให้ได้ตรวจสอบการเดินทางของชีวิตฝ่ายจิต และนำการเปลี่ยน แปลงมาสู่ชีวิตของเรา 
            และนี่คือคำถาม 5 ข้อ ที่ถึงแม้ว่าพระเจ้าอาจจะตรัสถามแก่ผู้อื่น แต่เราทุกคนก็ควรจะคิดว่า..พระองค์ทรงตรัสกับเราด้วยเช่นเดียวกัน และหากเป็นเช่นนั้นจริง เราจะตอบคำถามของพระองค์ ที่มาถึงเราโดยตรงนี้ได้อย่างไร?
1. ในหนังสือปฐมกาล พระเจ้าทรงเรียกหา อาดัม และถามเขาว่า เจ้าอยู่ที่ไหน?”พระเจ้าทรงตั้งคำถามนี้แก่อาดัม มิใช่เพราะพระองค์ไม่ทรงทราบว่า.. อาดัมอยู่ที่ไหน แต่พระองค์ทรงทราบดีว่า.. เขาซ่อนตัวอยู่ แต่พระองค์ทรงถามเพื่อให้อาดัม..จะได้กล้าที่จะออกมาเผชิญหน้ากับการไม่นบนอบเชื่อฟังของเขา
            พระองค์ทรงต้องการที่จะย้ำให้อาดัมได้ตระหนักว่า.. สัมพันธภาพระหว่างเขากับพระเจ้านั้น..หายไปไหนเสียแล้ว และนั่นคือคำถามข้อแรกที่เราทุกคน ต้องตอบกับพระเจ้าเช่นเดียวกันด้วยว่า.. สัมพันธภาพระหว่างเรากับพระเจ้านั้นอยู่ตรงไหน
? เรากำลังหลบซ่อนตัวเราจากสัมพันธภาพที่แท้จริงของพระเจ้าหรือไม่หรือว่าเรากำลังเดินไปพร้อมกับแสงสว่างของพระองค์?

            2. พระเจ้าทรงตรัสถาม คาอิน ว่า อาแบล..น้องของเจ้าอยู่ที่ไหน?” และเขาตอบว่าข้าพเจ้าไม่รู้ เพราะข้าพเจ้าไม่มีหน้าที่ในการดูแลน้อง และพระเจ้าได้ทรงถามเขาอีกว่า เจ้าได้ทำอะไรลงไป?” คำถามที่พระเจ้าทรงถามคาอินนั้น..เป็นคำถามที่ทรงถามเรา..เกี่ยวกับความรับผิดชอบส่วนตัวของเราด้วยเช่นกัน 
            เพราะในทุกวันนี้ ดูจะเป็นเรื่องปกติธรรมดามาก ที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเอาแต่ตำหนิ และพร่ำบ่นว่า..มีอะไรมากมายในชีวิตที่ไม่ถูกต้อง และทั้งหมดนั้นล้วนแต่เป็นความผิดพลาด ที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นทั้งนั้น เช่น ถ้าเขามีปัญหาในที่ทำงาน เขาก็จะตำหนิบ่นว่า..เจ้านายทำไม่ถูกต้อง ถ้าเขามีปัญหาที่บ้าน เขาก็จะตำหนิว่า..พ่อแม่และสิ่งอื่นๆ ล้วนไม่ถูกต้อง และถ้าเขามีปัญหาที่โรงเรียน เขาก็จะตำหนิครู เพื่อนๆ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่ทำให้เขาต้องเป็นเช่นนั้น

      แต่คำถามของพระเจ้าที่มาถึงคาอินนั้น พระองค์ไม่ได้ทรงถามว่า.. “อาแบลทำอะไร?แต่พระองค์

ทรงต้องการที่จะถามคาอินว่า เจ้าได้ทำอะไร..กับอาแบล?”

            3. พระเจ้าทรงตรัสถาม อับราฮัม ว่า ทำไมนางซาราห์จึงหัวเราะ?” นางจึงกล่าวว่า จะเป็นไปได้อย่างไร ที่ข้าพเจ้าจะมีลูกชายเมื่ออายุมากแล้ว” นี่เป็นคำถามที่พระเจ้าทรงถามเราทุกคน..ที่มีความสงสัยในพระสัญญาของพระองค์ เกี่ยวกับนางซาราห์ที่จะมีบุตรชายเมื่อมีอายุมากแล้ว พระเจ้าทรงตอบคำถามของเรา โดยย้ำกับอับราฮัมว่า.. ไม่มีเหตุผลใดที่จะสงสัยในพระสัญญาของพระเจ้า เพราะว่าไม่มีสิ่งมหัศจรรย์ใดๆ ที่จะเกินความสามารถที่พระเจ้าจะทำไม่ได้..สำหรับผู้ที่เชื่อในพระองค์
            ทัศนคติและมุมมองที่เรามีต่อพระเจ้านั้น ต้องไม่ใช่ความคิดที่ว่า 
พระสัญญาของพระองค์นั้นดีเลิศจนเกินกว่าที่จะเป็นจริงได้ หรือว่าพระสัญญานั้นดีมาก..แต่มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้” 

            4. พระเจ้าตรัสถาม โมเสส ว่า อะไรอยู่ในมือเจ้า?” พระเจ้าทรงต้องการที่จะย้ำให้โมเสสได้เข้าใจว่า เราไม่จำเป็นต้องมีสิ่งที่ยิ่งใหญ่อยู่ในมือของเราเลย” เพราะในความเป็นจริงนั้นเราไม่ได้เป็นเจ้าของสิ่งใดเลย สิ่งที่เรามีคือ ความว่างเปล่า แผนการของพระเจ้าในชีวิตของเราคือ เราต้องยอมให้พระเจ้าทรงทำ งานของพระองค์ในตัวเรา พระเจ้าทรงต้องการที่จะชี้ย้ำให้โมเสส..ได้มองดูไม้เท้าที่ปราศจากชีวิตในมือของเขา และในขณะนั้นเองที่พระเจ้าทรงทำให้โมเสสได้เข้าใจว่า.. หากเป็นพระประสงค์ของพระองค์ ที่จะ ใช้เขาให้ไปไถ่กู้ชาวอิสราเอล ให้พ้นจากการเป็นทาสในประเทศอียิปต์แล้ว พระเจ้าก็จะทรงทำงานนั้นด้วยพละกำลังของพระองค์เอง ซึ่งไม่ใช่ด้วยกำลังของเขา

            5. หลังจากนั้นพระเจ้าทรงตรัสกับ โมเสส ว่า เหตุไฉนเจ้าจึงมาร้องทุกข์ต่อเรา จงสั่งให้ชนชาติอิสราเอลเดินไปข้างหน้าเถิด” (อสย14:15) คำกล่าวนี้ทำให้โมเสสต้องหยุดคร่ำครวญ และอ้อนวอนต่อไป
            บางครั้งพระเจ้าก็ทรงต้องการที่จะให้เราก้าวต่อไปข้างหน้า เป็นการดีที่เราจะเรียกหาพระเจ้า และรอคอยพระองค์ แต่เมื่อพระเจ้าตรัสกับเราว่า 
จงไป นั่นก็คือ ถึงเวลาที่เราจะต้องไป และทำในสิ่งที่พระองค์ต้องการให้เราทำ...
            
จาก Meet Me in the Meadow  by.. Roi Lessin



วันอังคารที่ 24 เมษายน 2012 น.ฟีเดลิส แห่งซิกมาริงเก็น พระสงฆ์ มรณสักขี บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก กจ 7:51-59,8:1ก



   92tuesday10.gif 



วันอังคารที่ 24 เมษายน 2012
น.ฟีเดลิส แห่งซิกมาริงเก็น พระสงฆ์ มรณสักขี
บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก 
กจ 7:51-59,8:1ก


          ในครั้งนั้น สเทเฟนกล่าวกับประชาชนว่า “ท่านผู้ดื้อรั้น ใจกระด้างและหูตึงทั้งหลายเอ๋ย ท่านต่อต้านพระจิตเจ้าอยู่เสมอ บรรพบุรุษของท่านเคยทำเช่นไร ท่านก็ทำเช่นนั้น มีประกาศกคนใดบ้างที่บรรพบุรุษของท่านมิได้เบียดเบียน เขาฆ่าผู้ที่ประกาศล่วงหน้าถึงการเสด็จมาของพระเยซูเจ้าผู้ทรงชอบธรรม และบัดนี้ท่านทั้งหลายก็ทรยศและฆ่าพระองค์ด้วย ท่านทั้งหลายได้รับธรรมบัญญัติผ่านทางทูตสวรรค์ แต่ก็หาได้ปฏิบัติตามธรรมบัญญัตินั้นไม่” เมื่อได้ฟังดังนั้น ทุกคนรู้สึกขุ่นเคืองเจ็บใจ ขบฟันคำรามเข้าใส่สเทเฟน

          สเทเฟนเปี่ยมด้วยพระจิตเจ้า เพ่งมองท้องฟ้า มองเห็นพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า และเห็นพระเยซูเจ้าทรงยืนอยู่เบื้องขวาของพระเจ้า จึงพูดว่า “ดูซิ ข้าพเจ้าเห็นท้องฟ้าเปิดออก และเห็นบุตรแห่งมนุษย์ทรงยืนอยู่เบื้องขวาของพระเจ้า” ทุกคนจึงร้องเสียงดัง เอามืออุดหู วิ่งกรูกันเข้าใส่สเทเฟน ฉุดลากเขาออกไปนอกเมืองแล้วเริ่มเอาหินขว้างเขา บรรดาพยานนำเสื้อคลุมของตนมาวางไว้ที่เท้าของชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ “เซาโล” ขณะที่คนทั้งหลายกำลังเอาหินขว้างสเทเฟน สเทเฟนอธิษฐานภาวนาว่า “ข้าแต่พระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้า โปรดรับวิญญาณของข้าพเจ้าด้วย” เซาโลเป็นคนหนึ่งที่เห็นชอบกับการที่สเทเฟนถูกฆ่า

92tuesday14.gif

24 เมษายน 2555 พระวรสาร ยน 6:30-35 คำเทศน์สอนของพระเยซูเจ้าในศาลาธรรมที่เมืองคาเปอรนาอุม


   tuesday9.gif 


24 เมษายน 2555  พระวรสาร ยน 6:30-35 
คำเทศน์สอนของพระเยซูเจ้าในศาลาธรรมที่เมืองคาเปอรนาอุม


          เวลานั้น ประชาชนจึงทูลถามว่า “ท่านกระทำเครื่องหมายอัศจรรย์ใดเพื่อพวกเราจะได้เห็น และจะได้เชื่อในท่าน ท่านทำอะไรเล่า บรรพบุรุษของเราได้กินมานนาในถิ่นทุรกันดาร ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า พระองค์ประทานขนมปังจากสวรรค์ให้เขากิน”
          พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า มิใช่โมเสสที่ให้ขนมปังจากสวรรค์แก่ท่าน แต่เป็นพระบิดาของเราที่ประทานขนมปังแท้จากสวรรค์ให้ท่าน เพราะขนมปังของพระเจ้า คือขนมปังซึ่งลงมาจากสวรรค์ และประทานชีวิตให้แก่โลก”
          ประชาชนจึงทูลว่า “นายขอรับ โปรดให้ขนมปังนี้แก่พวกเราเสมอเถิด” พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “เราเป็นปังแห่งชีวิต ผู้ที่มาหาเราจะไม่หิว และผู้ที่เชื่อในเราจะไม่กระหายอีกเลย”

ข้อคิด
          ความช่วยเหลือจากพระเจ้าประทานให้แก่ทุกคนที่ไว้วางใจ ภัยอันตรายทุกวันนี้มีมาก การภาวนากับพระเจ้าเป็นวิธีหนึ่งช่วยให้พบทางออกได้ แต่การภาวนาต้องควบคู่กับการดำเนินชีวิตศักดิ์สิทธิ์ มีใจเมตตาต่อผู้อื่นและคนอื่นจะมีเมตตาต่อเรา


94tuesday4.gif

นักบุญมาระโก



นักบุญมาระโก  ผู้ประพันธ์พระวรสาร

ฉลองวันที่ 25 เมษายน

ผู้นิพนธ์พระวรสาร นักบุญ มาระโก หรือ ยอห์น มาระโก ( กจ 12:12-25 ; 15:37 ) ถือกำเนิดจากครอบครัวที่มีเชื้อสายเป็นชาวกรีก แต่อาศัยอยู่ที่กรุงเยรูซาเลม และท่านเองได้ให้พวกคริสตชนรุ่นแรกๆ ได้ใช้บ้านของท่านเป็นที่ชุมนุมกัน ( กจ 12: 12 - 16 ) และอาจจะเป็นไปได้ที่พระเยซูเจ้าและบรรดาสานุศิษย์ของพระองค์ได้ใช้บ้านนี้เป็นที่รับประทานอาหารค่ำครั้งสุดท้ายด้วย
นักบุญ มาระโก ได้เป็นเพื่อนร่วมทางของนักบุญ เปาโล ในการเดินทางแพร่ธรรมครั้งแรก ( กจ 12: 25; 13 : 5 ) แต่รู้สึกว่าท่านไม่สู้มีความกระตือรือร้นกับการเดินทางแพร่ธรรมของนักบุญ เปาโล มากนัก ท่านจึงได้กลับมาที่กรุงเยรูซาเลมแต่เพียงคนเดียว ( กจ 13:13 ) และตามที่ปรากฏแก่ท่าน รู้สึกว่าจะได้มีการโต้เถียงกันอย่างรุนแรงพอสมควรระหว่างนักบุญ เปาโล และนักบุญ บาร์นาบัส ในโอกาสเตรียมตัวเดินทางแพร่ธรรมครั้งที่ 2 ของนักบุญ เปาโล ( กจ 15:39 - 40 )
ต่อมาท่านได้ติดตามนักบุญ เปโตร มาที่กรุงโรมและคอยรับใช้ให้ความช่วยเหลือนักบุญ เปโตร ในขณะที่โดนขังคุกอยู่ ( คส 4: 10 ) นักบุญเปโตรเรียกท่านว่า “บุตร” (1ปต.5:13) และในที่สุดท่านยังได้คอยรับใช้ นักบุญ เปาโล เวลาที่ถูกขังคุกอีกด้วย ( 2 ทธ 4:11 )
ในพระวรสารของท่าน นักบุญ มาระโก ได้เสนอรูปแบบของพระเยซูเจ้าที่ถูกค้นพบโดยอาศัยประสบการณ์ของบรรดาอัครธรรมทูตและของพวกสานุศิษย์เอง ในโลกเราทุกวันนี้เวลาที่เราจะแสดงรูปแบบของพระเยซูเจ้าให้คนอื่น เขาก็มักจะถามว่า “เขาผู้นั้นเป็นใครกัน” พระวรสารของท่านมี   ทัศนวิสัยพิเศษ ซึ่งแตกต่างจากพระวรสารเล่มอื่นๆ คือมีความขัดแย้งกันที่เจ็บปวดระหว่างพระคริสตเจ้าที่ประกอบด้วยความสามารถพิเศษในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ( 1:31 ) ในการยกบาป ( 2:10 ) ในการมีชัยชนะต่อปีศาจ ( 1:24 - 27; 1: 34; 3: 11,23; 5: 7 ) กับพวกผู้คนที่สบประมาทเยาะเย้ยพระองค์ ( 5: 40; 6:2 ; 15:29 - 32 ) และต้องการให้พระองค์ต้องพินาศไป ( 3: 6; 12: 13; 14:1) และเมื่อสบโอกาส นักบุญ มาระโก ก็มิได้ลังเลใจที่จะเสนอความขัดแย้งอันเดียวกันนี้ภายในกลุ่มของพวกอัครธรรมทูตเอง ( 4:13) ทั้งจากครอบครัวของพระคริสตเจ้าเองด้วย ( 3:20 - 37 )
ท่านได้อธิบายความขัดแย้งกัน “อันเป็นที่สะดุด” นี้ให้กับธรรมล้ำลึกปัสกาเองด้วย ( 16 ) โดยท่านได้พยายามแสดงให้เห็นว่าแผนการอันลึกซึ้งของพระเป็นเจ้าได้สำเร็จไปในองค์พระผู้ไถ่ ( 8:31; 9:3 ; 10:33 ) และแผนการนี้เราจะสามารถพบได้ในกระแสเรียกของคริสตชนทุกคนอีกด้วย( 8: 34; 9: 35 ; 10:24 - 39 ; 13:9-13 )
พระวรสารของพระแมสซีอาห์ที่ถูกเขาสบประมาทเยาะเย้ยที่ต้องทนทุกข์ยากลำบาก และที่สุดต้องถูกตรึงที่ไม้กางเขนได้ช่วยทำให้นายร้อยคนนั้นได้ยอมประกาศความเชื่อของตนว่า “แน่ละบุรุษผู้นี้จะต้องเป็นบุตรของพระเจ้า”
นักบุญ มาระโก เป็นผู้นิพนธ์พระวรสารที่ได้แสดงให้เห็นอย่างแจ้งชัดถึงการทรยศของยูดาสและของนักบุญ เปโตร มากกว่าผู้นิพนธ์พระวรสารองค์อื่นๆ การขายพระคริสตเจ้าหรือการปฏิเสธไม่ยอมรับพระองค์ในบรรดาพี่น้องคริสตชนทั้งหลาย ก็เป็นการทรยศที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังของการที่เรามาร่วมรับประทานอาหารที่โต๊ะศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์เหมือนกัน มิใช่หรือ
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ
1. ขออย่าให้คริสตชนคนใดปฏิเสธไม่ยอมรับรู้พระคริสตเจ้าในบรรดาพี่น้องของตน
2. ขออย่าให้ใครได้ขายพระคริสตเจ้า โดยการเอารัดเอาเปรียบหรือฉ้อโกงบรรดาพี่น้องของตน
3. ในทุกๆ สภาพการณ์ของชีวิต ให้เราได้รู้จักที่จะตัดสินใจอยู่ข้างพระ คริสตเจ้า
4. ขอให้กิจการทุกอย่างของเราจงเป็นพยานยืนยันที่มีชีวิตชีวาเพื่อพระคริสตเจ้าด้วยเถิด
ข้อมูลจากเวปไซด์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ

ผู้กลับใจ