04 กรกฎาคม 2555

มารู้จัก..พระคัมภีร์ (The Holy Bible)


       มารู้จักกับ "พระคัมภีร์" กันเถอะ   

    พระคัมภีร์ (The Holy Bible) 

              เป็นหนังสือที่บรรจุพระวาจาของพระเป็นเจ้า โดยที่พระเป็นเจ้าเองทรงมีความต้องการที่จะเปิดเผยให้มนุษย์ได้รู้จักพระองค์ เป็นข่าวดีแห่งความรอดของพระองค์ต่อมนุษย์ทุกคน มนุษย์จะทราบและรู้จักพระเป็นเจ้าได้ ก็จะต้องรู้จักอ่าน หรือศึกษาจากพระคัมภีร์ โดยที่มนุษย์จะต้องร่วมมือกับพระองค์ และปฏิบัติตามพระวาจาเพื่อจะได้บรรลุถึงหนทางแห่งความรอดโดยปกติคนเราก็ติดต่อกันด้วยคำพูดหรือทางภาษา พระเป็นเจ้าก็ใช้วิธีเดียวกันที่มนุษย์สามารถจะเข้าใจได้ โดยใช้พระวาจาของพระเป็นเจ้า เป็นสื่อและบันทึกรวบรวมเข้าไว้ด้วยภาษาของมนุษย์ ที่เราเรียกว่า “หนังสือพระคัมภีร์ 
             พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่รวบรวมไว้จากหลายต่อหลายคนในระยะเวลาเป็นพันปี มีหลายต่อหลายเล่ม แต่ละเล่มก็จะมีความแตกต่างกันไปบ้างตามลักษณะของผู้เขียน ที่ได้รับการดลใจจากพระเจ้า ในเวลา สถานที่ และลักษณะที่อาจจะแตกต่างกัน แต่ทุกเล่มก็ล้วนแต่ได้รับการดลใจจากพระเป็นเจ้า ซึ่งเราถือว่าเป็น "พระวาจาของพระเป็นเจ้า พระองค์เป็นผู้แต่ง ส่วนมนุษย์เป็นผู้เขียน" โดยใช้ภาษามนุษย์ หรือแบบวรรณกรรม รวมทั้งภูมิหลัง หรือแนวความคิดที่แสดงออกต่างกัน 
              ดังนั้น พระคัมภีร์ จึงไม่ใช่หนังสือ “เล่มเดียว” แต่เป็นเสมือน “ตู้หนังสือ” ที่บรรจุพระวาจาของพระเป็นเจ้า 
    องค์ประกอบของพระคัมภีร์
             พระคัมภีร์ ประกอบด้วย หนังสือประเภทต่างๆ หรือเล่มต่างๆรวบรวมไว้ทั้งหมด 73 เล่ม ด้วยกัน มีอยู่ด้วยกัน 2 ภาคคือ
    1. พันธสัญญาเดิม ( The old testament ) มี 46 เล่ม
    2. พันธสัญญาใหม่ ( The new testament ) มี 27 เล่มพระคัมภีร์ จึงเปรียบเสมือน เหรียญที่มี 2 ด้านประกอบกัน 
              คือทั้งทางด้านพันธสัญญาเดิม และพันธสัญญาใหม่ที่ต่อเนื่องสัมพันธ์ต่อกันที่เราเรียกว่าเป็น “พันธสัญญา ( Cenvenant )” นั่นคือจุดศูนย์กลาง และจุดสุดยอดคือ องค์พระเยซูคริสตเจ้า ในประวัติศาสตร์แห่งความรอดที่สมบูรณ์ไปได้นั้นตั้งแต่ปฐมกาล ในพระธรรมเดิมมาจนถึงองค์พระเยซูคริสตเจ้า และต่อจากองค์พระเยซูคริสตเจ้าเป็นต้นมา ในพระธรรมใหม่ ดังที่มีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ที่ว่า“ในโบราณกาลพระเจ้าได้ตรัสด้วยวิธีต่างๆมากมายแก่บรรพบุรุษของเรา โดยทางผู้เผยพระวจนะ แต่ในวาระสุดท้ายนี้ พระองค์ได้ตรัสกับเราทั้งหลายโดยทางพระบุตร…” (ฮบ. 1: 1-2) 
              พระคัมภีร์ จึงไม่ใช่เพียงต้องการบอกให้เรามนุษย์ได้ทราบเพียงทางด้านประวัติศาสตร์ โหราศาสตร์ หรือภูมิศาสตร์ ตลอดจนการเป็นอยู่ของมนุษย์เท่านั้น แต่สิ่งที่พระคัมภีร์ต้องการบอกแก่เราคือ ความรอดที่พระเป็นเจ้าทรงต้องการให้มนุษย์ได้รับรู้และได้ปฏิบัติตาม เพื่อจะได้รับความรอด ทำให้เราเข้าใจว่าพระเป็นเจ้าคือใคร, มนุษย์เป็นใคร, มาจากไหน และจะต้องปฏิบัติอย่างไร เพื่อเราจะได้มีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์แห่งความรอด และสำเร็จบริบูรณ์ในองค์พระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรพระเป็นเจ้า องค์แห่งความรัก และผู้ช่วยให้รอด 
    พันธสัญญาเดิม
    พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม 46 เล่ม แบ่งออกได้เป็นส่วนต่างๆ 4 ส่วน ได้แก่ ปัญจบรรพ ประวัติศาสตร์ ปรีชาญาน และประกาศก
    สำหรับปัญจบรรพ พระคัมภีร์ที่ชาวยิวในนิกายยูดาห์ ให้ความสำคัญมากที่สุด ถือว่า โมเสส เป็นผู้เขียน พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม เน้นที่ความซื่อสัตย์ของมนุษย์ที่พึงมีต่อพระเป็นเจ้าพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ประกอบด้วย
    1. ปัญจบรรพ
    เล่มที่
    ภาษาอังกฤษ

    ชื่อเต็ม
    ชื่อย่อ

    1.
    Genesisปฐมกาลปฐก.

    2.
    Exodusอพยพอพย.

    3.
    Leviticusเลวีนิติลนต.

    4.
    Numbersกันดารวิถีกดว.

    5.
    Deuteronomy   เฉลยธรรมบัญญัติ   ฉธบ.


    2. ประวัติศาสตร์
    เล่มที่
    ภาษาอังกฤษ

    ชื่อเต็ม
    ชื่อย่อ

    6.
    Joshuaโยชูวายชว.

    7.
    Judgesผู้วินิจฉัยวนฉ.

    8.
    Ruthนางรูธนรธ.

    9.
    1 Samuel1 ซามูแอล1 ซมอ.

    11.
    2 Samuel2 ซามูแอล2 ซมอ.

    11.
    1 Kings1 พงศ์กษัตริย์    1 พกษ.

    12.
    2 Kings2 พงศ์กษัตริย์2 พกษ.

    13.
    1 Chronicles1 พงศาวดาร1 พศด.

    14.
    2 Chronicles2 พงศาวดาร2 พศด.

    15.
    Ezraเอศราอศร.

    16.
    Nehemiahเนหะมีย์นหม.

    17.
    Tobit (Tobias)    โทบิตทบต.

    18.
    Judithยูดิธยดธ.

    19.
    Estherเอสเธอร์อสธ.

    20.
    1 Maccabees1 มัคคาบี1 มคบ.

    21.
    2 Maccabees2 มัคคาบี2 มคบ.


    3. ปรีชาญาน
    เล่มที่
    ภาษาอังกฤษ

    ชื่อเต็ม
    ชื่อย่อ

    22.
    Jobโยบโยบ

    23.
    Psalmsเพลงสดุดีสดด.

    24.
    Proverbsสุภาษิตสภษ.

    25.
    Ecclesiastesปัญญาจารย์ปญจ.

    26.
    Song of Solomon    เพลงซาโลมอน   พซม.

    27.
    Wisdomปรีชาญานปชญ.

    28.
    Ben-Siraบุตรสิราบสร.


    4. ประกาศก
    เล่มที่
    ภาษาอังกฤษ

    ชื่อเต็ม
    ชื่อย่อ

    29.
    Isaiahอิสยาห์อสย.

    30.
    Jeremiahเยเรมีย์ยรม.

    31.
    Lamentations   เพลงคร่ำครวญ   พคค.

    32.
    Baruchบารุคบรค.

    33.
    Ezekielเอเสเคียลอสค.

    34.
    Danielดาเนียลดนล.

    35.
    Hoseaโฮเชยาฮชย.

    36.
    Joelโยเอลยอล.

    37.
    Amosอาโมสอมส.

    38.
    Obadiahโอบาดีห์อบด.

    39.
    Jonahโยนาห์ยนา.

    40.
    Micahมีคาห์มคา.

    41.
    Nahumนาฮูมนฮม.

    42.
    Habakkukฮาบากุกฮบก.

    43.
    Zephaniahเศฟันยาห์ศฟย.

    44.
    Haggaiฮักกัยฮกก.

    45.
    Zechariahเศคาริยาห์ศคย.

    46.
    Malachiมาลาคีมลค.


    สรุปใจความสำคัญในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม
    1. ปฐมกาล (ปฐก.)
    จิตตารมย์ของการเขียน เป็นการกล่าวถึงการสร้างโลกของพระเป็นเจ้า การทำบาปของมนุษย์ การจองหองต่อพระเป็นเจ้า นับตั้งแต่สมัย อาดัม จนถึงการฆ่าคนครั้งแรกของคาอิน แสดงถึงธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความอ่อนแอต่อบาป และไม่เข้าใจในความรักที่พระเป็นเจ้ามีต่อมนุษย์ มนุษย์เริ่มมีจิตใจคับแคบ และศีลธรรมตกต่ำลงเรื่อยๆ จนถึงสมัย โนอาห์ พระเป็นเจ้าจึงลงโทษมนุษย์ด้วยการให้น้ำท่วมโลก เป็นสัญลักษณ์ของการชำระล้าง ( เลข 40 (วัน/เดือน/ปี) ในพระคัมภีร์ มีความหมายถึง ระยะเวลาที่ยาวนาน; 7 หมายถึงความสมบูรณ์พร้อม และ 6 หมายถึงความบกพร่อง ความไม่สมบูรณ์) การที่นกคาบกิ่งไม้หายออกไปจากเรือของโนอาห์ แสดงถึงความหมายของ “แผ่นดินใหม่” หรือ “ชีวิตใหม่”
    ต่อมาถึงสมัยของ อับราฮัม “บิดาแห่งความเชื่อ” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ อับราฮัมเป็นบิดาของชน 12 ตระกูล หนังสือปฐมกาล จะจบลงที่กำเนิดโมเสส ในสภาวะที่อิสราเอลตกเป็นทาสของอียิปต์2. อพยพ (อพย.)
    เริ่มจากโมเสส รับพันธสัญญา 10 ประการ และพาชาวอิสราเอลออกจากแผ่นดินอียิปต์ การข้ามทะเลแดง ถือเป็นปัสกาแรกของคริสตชน3. กันดารวิถี (กดว.)
    เป็นการกล่าวถึงการเดินทางรอนแรมในถิ่นทุรกันดารของชาวอิสราเอลก่อนเข้าแผ่นดินคานาอัน ซึ่งเป็นแผ่นดินแห่งพันธสัญญา เป็นการทดลองความเชื่อ ความศรัทธาของมนุษย์ต่อพระเป็นเจ้า4. เลวีนิติ (ลนต.) และเฉลยธรรมบัญญัติ (ฉธบ.)
    เป็นกฎหมายและข้อปฏิบัติที่ขยายจากพระบัญญัติ 10 ประการ5. ส่วนอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น
    5.1 กลุ่มหนังสือพงศาวดาร เป็นการแสดงถึงการจัดระบบ ระเบียบของสังคมชาวอิสราเอล ภายหลังเข้าสู่แผ่นดินคานาอันแล้ว และตั้งรกราก สร้างเมือง โดยเริ่มจากการมี “ผู้วินิจฉัย” ไปจนถึง กษัตริย์ จนถึงการเสียเอกราช และถูกต้อนเป็นทาสในแผ่นดินบาบิโลน และเป็นอิสระจากบาบิโลน ได้กลับมายังคานาอัน
    5.2 กลุ่มหนังสือประกาศก เป็นการแสดงถึงข่าวดี ทางแห่งความรอด ที่พระเป็นเจ้าเผยแก่ประกาศก เกี่ยวกับการเสด็จมาบังเกิด และการไถ่บาปของพระเยซูเจ้า
    5.3 กลุ่มหนังสือปรีชาญาน เป็นหนังสือเสริมศรัทธา เป็นการสอน เตือนใจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความตาย ความไม่เที่ยงแท้แห่งชีวิต (โยบ) บทเพลงสรรเสริญพระเป็นเจ้า (เพลงสดุดี) ความหมายของชีวิต (ปัญญาจารย์) คำตอบของชีวิต (ปรีชาญาน) ฯลฯพันธสัญญาใหม่

    พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ 27 เล่ม แบ่งออกได้เป็นส่วนต่างๆ 4 ส่วน ได้แก่ พระวรสาร 4 เล่ม กิจการอัครสาวก 1 เล่ม บทจดหมาย 21 เล่ม และวิวรณ์ 1 เล่ม เป็นการบันทึกเรื่องราวในสมัยของพระเยซูเจ้า และภายหลังจากการไถ่บาปและกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า ซึ่งเป็นปัสกาสุดท้าย การก่อตั้งพระศาสนจักร และการเสริมความเชื่อของคริสตชนรุ่นแรก เน้นที่องค์พระเยซูเจ้าซึ่งเป็นศูนย์กลางของประวัติศาสตร์แห่งความรอด อยู่ตรงกลางระหว่างพันธสัญญาเดิม และพันธสัญญาใหม่พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ประกอบด้วย
    1. พระวรสาร
    เล่มที่
    ภาษาอังกฤษ

    ชื่อเต็ม
    ชื่อย่อ

    47.
    Matthewมัทธิวมธ.

    48.
    Markมาระโก   มก.

    49.
    Lukeลูกาลก.

    50.
    Johnยอห์นยน.


    2. กิจการอัครสาวก
    เล่มที่
    ภาษาอังกฤษ

    ชื่อเต็ม
    ชื่อย่อ

    51.
    Acts   กิจการอัครสาวก   กจ.


    3. บทจดหมาย
    เล่มที่
    ภาษาอังกฤษ

    ชื่อเต็ม
    ชื่อย่อ

    52.
    Romansโรมรม.

    53.
    1 Corinthians1 โครินท์1 คร.

    54.
    2 Corinthians2 โครินท์2 คร.

    55.
    Galatiansกาลาเทียกท.

    56.
    Ephesiansเอเฟซัสอฟ.

    57.
    Philippiansฟิลิปปีฟป.

    58.
    Colossiansโคโลสีคส.

    59.
    1 Thessalonians   1 เธสะโลนิกา   1 ธส.

    60.
    2 Thessalonians2 เธสะโลนิกา2 ธส.

    61.
    1 Timothy1 ทิโมธี1 ทธ.

    62.
    2 Timothy2 ทิโมธี2 ทธ.

    63.
    Titusทิตัสทต.

    64.
    Philemonฟิเลโมนฟม.

    65.
    Hebrewsฮิบรูฮบ.

    66.
    Jamesยากอบยก.

    67.
    1 Peter1 เปโตร1 ปต.

    68.
    2 Peter2 เปโตร2 ปต.

    69.
    1 John1 ยอห์น1 ยน.

    70.
    2 John2 ยอห์น2 ยน.

    71.
    3 John3 ยอห์น3 ยน.

    72.
    Judeยูดายด.


    4. หนังสือวิวรณ์
    เล่มที่
    ภาษาอังกฤษ

    ชื่อเต็ม
    ชื่อย่อ

    73.
    Apocalypse or Revelation   วิวรณ์วว.


    สรุปใจความสำคัญในพระคัมภีร์ภาค พันธสัญญาใหม่
    1. พระวรสารทั้ง 4 เล่ม
              เป็นบันทึกเหตุการณ์ของพระเยซูเจ้าตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมานและการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซูเจ้า การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระจิตเจ้ามายังอัครสาวก พระวรสาร 3 เล่มคือ มัทธิว ลูกา และมาระโก มีใจความคล้ายกัน จึงเรียกว่า “พระวรสารสหทรรศน์ (Synoptic)” ส่วนของยอห์น จะโดดเด่นออกมา พระวรสารทั้ง 4 ไม่ได้เรียงลำดับเวลา หรือเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูเจ้า
    1.1 พระวรสารนักบุญมาระโก เป็นพระวรสารเล่มแรก ประพันธ์ขึ้นใน คศ. 70 สัญลักษณ์คือ สิงโต แสดงความกล้าหาญ เน้นกำเนิดของนักบุญยอห์น บัปติสตา เน้นพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้า ที่มีนักบุญยอห์น บัปติสตา เป็นผู้นำทาง
    1.2 พระวรสารนักบุญมัทธิว ประพันธ์ขึ้นในค.ศ. 80 สัญลักษณ์คือ คน แสดงภาพของพระเยซูเจ้าในสภาวะของความเป็นมนุษย์ เน้นลำดับพงศ์ของพระเยซูเจ้า ความสำคัญของพระเยซูเจ้าที่ทำให้พันธสัญญาเดิมมีความสมบูรณ์ไป ต้องมีทั้งการปฏิบัติและความเชื่อภายใน
    1.3 พระวรสารนักบุญลูกา ประพันธ์ขึ้นในค.ศ. 85 สัญลักษณ์คือ วัว แสดงถึงการรักษา การแพทย์ เน้นบทบาทของพระเยซูเจ้าในฐานะ องค์ผู้ช่วยให้รอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรอดสำหรับคนต่างศาสนา เนื่องจากนักบุญลูกา เป็นแพทย์ และเป็นคนต่างศาสนามาก่อน ในพระวรสารจะกล่าวเน้นถึงอัศจรรย์ของพระเยซูเจ้าในการรักษาคนเจ็บป่วย
    1.4 พระวรสารนักบุญยอห์น ประพันธ์ขึ้นในค.ศ. 90-100 สัญลักษณ์คือ นกอินทรี มีความหมายถึงสายตาแหลมคม ความลึกซึ้ง เนื้อหาโดยส่วนใหญ่ จะเน้นที่พระเยซูเจ้าในฐานะขององค์แห่งความรัก ลักษณะการเขียน จะใช้ถ้อยความที่ลึกซึ้ง และมีระบบที่แตกต่างจากพระวรสารสหทรรศน์มาก
    พระวรสาร จึงเป็นเสมือนหนังสือบันทึกเหตุการณ์ของพระเยซูเจ้าตลอดพระชนม์ชีพ ซึ่งได้รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดี ความรอด การยอมรับทรมาน การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนชีพอย่างรุ่งเรือง ไปจนถึงการส่งพระจิตลงมายังอัครสาวก เพื่อให้เป็นพยานแห่งความรอดและประกาศข่าวดีต่อจากพระองค์ 
    2. กิจการอัครสาวก
              นิพนธ์โดยนักบุญลูกา จึงเป็นเรื่องราวที่ต่อเนื่องกับพระวรสารของนักบุญลูกา ในหนังสือนี้ ได้เน้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูเจ้าแล้ว อัครสาวกได้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ต่อมา โดยได้เล่าถึงการต้อนรับบ้าง การกีดกันบ้าง การเบียดเบียนพระศาสนจักรในรูปแบบต่างๆบ้าง นอกจากนั้น จะได้พบเรื่องราวของบุคคลสำคัญในศาสนาบางคนเช่น การเป็นปฐมมรณสักขีของ นักบุญสเทเฟน และที่สำคัญคือ การเบียดเบียนพระศาสนจักร และการกลับใจของนักบุญเปาโล
              ข้อน่าสังเกต : คือ ในหนังสือกิจการอัครสาวก ไม่ได้กล่าวถึง “พิธีกรรม” ต่างๆ เช่นที่เกิดขึ้นในพระศาสนจักรยุคปัจจุบันเลย เพราะการชุมนุมของพระศาสนจักรในยุคเริ่มแรก เป็นเพียงการมาพบกันเพื่อรื้อฟื้น/ระลึกถึง การเลี้ยง และการบิขนมปัง (ศีลมหาสนิท) ของพระเยซูเจ้าในคืนสุดท้ายก่อนสิ้นพระชนม์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มของพิธีบูชามิสซาในปัจจุบัน รวมทั้งมีการแบ่งปันเกี่ยวกับคำสอนและพระเกียรติคุณของพระเยซูเจ้า เพื่อส่งเสริมความเชื่อให้มั่นคงขึ้น และเพื่อให้มีคนกลับใจเพิ่มขึ้นเท่านั้น สำหรับพิธีกรรมที่เห็นในปัจจุบัน เป็นภาคขยายทางเทวศาสตร์ เพื่อผลในการอภิบาลสัตบุรุษ ซึ่งมาเพิ่มเติมในภายหลังจากยุคของอัครสาวกแล้ว 
    3. บทจดหมาย
              นิพนธ์โดยนักบุญเปาโล 13 เล่ม (โรม - ฟิเลโมน) ศิษย์ของน.เปาโล (ฮิบรู) นักบุญยากอบ นักบุญเปโตร นักบุญยอห์น และนักบุญยูดา อัครสาวก โดยภาพรวมแล้ว บทจดหมายทั้ง 21 เล่ม นี้ ในยุคแรกไม่ถือว่าเป็นพระวาจาของพระเจ้า แต่เป็นเพียงการเขียนในลักษณะของจดหมายเพื่อจุดประสงค์ในการ บรรเทาใจ เตือนใจ ปลอบใจ ให้กำลังใจกับคริสตชนรุ่นแรกที่ความเชื่อยังไม่มั่นคง เนื่องจากถูกเบียดเบียน และเพื่อเพิ่มพูนความเชื่อ บำรุงศรัทธา ต่อมาภายหลังจึงถือเป็นพระวาจาด้วย4. วิวรณ์
    นิพนธ์โดยนักบุญยอห์น อัครสาวก ตามพระคัมภีร์กล่าวว่า นักบุญยอห์นได้นิพนธ์ขึ้นตามนิมิตของท่าน และเป็นภาษาสัญลักษณ์ทั้งหมด จิตตารมณ์ของการเขียนหนังสือวิวรณ์คือ ต้องการให้มนุษย์ตั้งตนในความไม่ประมาท และพร้อมที่จะพบกับพระเป็นเจ้าเสมอ ความวางใจต่อพระเป็นเจ้า ให้ผู้ที่ถูกเบียดเบียนได้มีความหวัง และได้รับความรอด ไม่ใช่ การทำนายถึงวันสิ้นโลก หรืออวสานของโลกอย่างที่หลายคนเข้าใจ และเกิดความกลัวจากการตีความภาษาสัญลักษณ์อย่างตรงไปตรงมาเกินไปบทสรุป : พระวาจา ในพระคัมภีร์ เป็นเรื่องทันสมัยอยู่เสมอ (เช่นเดียวกับพระจิต ที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ) แต่อยู่ที่การเลือกปฏิบัติให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ปัจจุบัน แต่การที่พระวาจาจะบังเกิดผลต่อมนุษย์นั้น นอกจากต้องอาศัยความเชื่อ และการกลับใจแล้ว จำเป็นต้องปฏิบัติด้วย จึงจะบังเกิดผลอย่างแท้จริง




    จากหนังสือ "คำสอนคริสตชน" โดย คุณพ่อประชาชาติ ปรีชาวุฒิ

ผู้กลับใจ